(Foundation of Research)
6. ประเภทของการวิจัย
6.7 ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำจำแนกเป็น 3 ลักษณษะ
6.7.3 การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง(True Experimental Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร
6.7.2 การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถดำเนินการในกระบวนการวิจัยได้อย่างครบถ้วน อาทิ การสุ่มตัวอย่าง
6.7.1 การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
6.6 จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย จำแนกเป็น 3 ลักษณ
6.6.3 การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented Research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปรากฏการณ์ต่าง ๆ
6.6.2 การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented Research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวหรือมากกว่า การทำนายค่าของตัวแปรที่สนใจ
6.6.1 การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research) เป็นการวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อบรรยายลักษณะของตัวแปรในประชากร
6.5 จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
6.5.2 การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล
6.5.1 การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วน ามาสรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ
6.4 จำแนกตามลักษณะของวิชาหรือศาสตร์ จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
6.4.2 การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง และการศึกษา เป็นต้น
6.4.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
6.2 จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล จ าแนกออกเป็น 2 ลักษณะ
6.2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยายลักษณะ เหตุการณ์หรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรตามสภาพแวดล้อม
6.2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่ก าหนดให้ค่อนข้างชัดเจน
6.3 จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology) จำแนกได้2 ลักษณะ ดังนี้
6.3.2.3 การศึกษาพัฒนาการ(Developmental Studies) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรยายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป จำแนกได้2 ลักษณะ ดังนี้
2) การศึกษาแนวโน้ม(Trend Studies)
1) การศึกษาความเจริญงอกงาม(Growth Studies)
6.3.2.2 การศึกษาความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies) เป็นการวิจัยที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรยายความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อาทิ การศึกษาเฉพาะกรณีCase Study
6.3.2.1 การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้บรรยายคุณลักษณะหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร อาทิ การส ารวจโรงเรียน/ชุมชน/ ประชามติ
6.3.1การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ อาทิ รูปภาพ สิ่งพิมพ
6.1 จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
4.7 การวิจัยจะต้องเป็นการดำเนินการโดยใช้ความรู้ความชำนาญของผู้วิจัยที่จะต้องรับรู้ปัญหาที่ตนเองจะทำวิจัย
6.1.2 การวิจัยการนำไปใช้(Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ใน การนำผลการวิจัยจากการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ในปัจจุบัน ตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
6.1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี/ปรากฏการณ์ ที่นำมาใช้ใน การสนับสนุน หรือขัดแย้งกับกฎเกณฑ์
4.10 การวิจัย เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการด้วยความอดทน ไม่เร่งรีบ และจะต้องยอมรับ/เผชิญอุปสรรคในวิธีการได้มาของคำตอบในการวิจัย
4. คุณลักษณะของการวิจัย
4.11 การวิจัย จะต้องมีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัยด้วยความระมัดระวัง
ในการใช้คำที่มีความหมาย วิธีการดำเนินการวิจัย หรือการอ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมากล่าวอ้างอิงอย่าง
ถูกต้อง
4.9 งานวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการแสวงหาคำตอบที่นำมาใช้ตอบคำถามของปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้
4.8 การวิจัยจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้เหตุผลตามหลักความเป็นจริงที่จะสามารถทดสอบได้และวิธีการที่เหมาะสม
4.6 การวิจัยจะต้องมีระบบ มีวิธีการ แบบแผนการวิจัย และการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่จะทำให้ได้ข้อสรุปการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ
4.5 การวิจัย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในการตอบค าถามตามจุดประสงค์ใหม่ ไม่ใช่เป็นการจัดระบบใหม่ (Reorganizing) โดยการนำข้อมูล ที่ผู้อื่นค้นพบแล้วมาสรุปอีกครั้งหนึ่ง เพราะทำให้ไม่ได้รับความรู้ใหม่ ๆ
4.4 การวิจัยจำป็นจะต้องมีกระบวนการสังเกตที่ถูกต้อง ชัดเจน และบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณหรือวิธีการของการวิจัยเชิงคุณภาพ
4.3 การวิจัย มีแนวคิดพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical) ดังนั้นในบางคำถามที่น่าสนใจไม่สามารถที่จะนำมาดำเนินการวิจัยได้ เพราะไม่สามารถสังเกตหรือแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ได้
4.2 การวิจัย เป็นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์ และทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือคาดการณ์โดยเฉพาะในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
4.1 การวิจัย เป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้าย ที่เป็นการค้นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
2. จุดมุ่งหมายของการวิจัย
2.3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดยที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถทำการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได
2.2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร
2.1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน
5. ธรรมชาติของการวิจัย
5.10 การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย หมายถึง การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการโดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์
5.9 การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย หมายถึง การวิจัยจะมีวิธีการในการด าเนินการวิจัยที่ให้ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ หรือการดำเนินการวิจัย
5.8 การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หมายถึง การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ
5.7 การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น)
5.6 การวิจัยมีเหตุผล หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนใน การดำเนินการทุกขั้นตอน
5.5 การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง การวิจัยต้องมีความคงเส้นคงวาในการดำเนินการวิจัย
5.4 การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง การวิจัยใดๆจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ความเที่ยงตรงภายในและะความเที่ยงตรงภายนอก
5.3 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่มีจุดมุ่งหมายใน 4 ลักษณะ คือ บรรยาย อธิบาย พยากรณ์ และควบคุม ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
5.2 การวิจัยเป็นการด าเนินการที่เป็นระบบ หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการตามขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
5.1 การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาคำตอบที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้
3. แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย
3.4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ
3.3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ในการเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรการเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปร
3.2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน
3.1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ ๆ
1. ความหมายของการวิจัย (Meaning of Research)
เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจากอคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏีหรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้