Kategorier: Alle - ทฤษฎี - สื่อสาร - ข้อมูล

av nicharee K 3 år siden

299

Nicharee-Krodkaew-63103584

ทฤษฎีการสื่อสาร SMCR ของเดวิด เค. เบอร์โล เน้นกระบวนการสื่อสารที่มีผู้ส่ง ผู้รับ ช่องทาง และข้อความ โดยผู้ส่งต้องมีทักษะในการเข้ารหัสและมีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับ ส่วนผู้รับต้องมีทักษะในการถอดรหัสและมีความรู้พื้นฐานที่สอดคล้องกัน ข้อมูลข่าวสารต้องมีเนื้อหาชัดเจนและใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย ระบบสังคมและวัฒนธรรมยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของผู้คนและทัศนคติ ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับและความเข้าใจร่วมกัน ทฤษฎีนี้เชื่อว่าทักษะในการสื่อสารของทั้งผู้ส่งและผู้รับมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จในการสื่อสาร นอกจากนี้ สูตรการสื่อสารของลาสแวลล์เสริมว่าการสื่อสารต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลักคือ ใคร พูดอะไร ผ่านช่องทางใด ส่งไปยังใคร และได้ผลอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างผู้ส่งและผู้รับ

Nicharee-Krodkaew-63103584

ทฤษฎีและหลักการสื่อสาร

การสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแชนนันและวีเวอร์ คล็อด อี. แชนนัน (Claude E.Shannon) และวอร์เรนวีเวอร์ (Warren Weaver) ได้คิดทฤษฏีการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง การสื่อสารเริ่มด้วยผู้ส่งซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทําหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ

องค์ประกอบการสื่อสาร 1.ผู้ส่ง 2.เครื่องส่ง 3.ช่องทาง 4.เครื่องรับ 5.ผู้รับ 6.สิ่งรบกวน
ลักษณะของการส่งสัญญาณ เมื่อทางฝ่ายผู้ได้รับสัญญาณแล้ว สัญญาณที่ได้รับจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเครื่องรับหรือการรับเพื่อทําการแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมาก ในขึ้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทางคือผู้รับตามที่ต้องการ

การสื่อสารเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์

สื่อสารระหว่างบุคคลและแบบกลุ่มบุคคลนั้น ผู้ส่งและผู้รับจะมีการเปลี่ยนบทบาทกันไปมาในลักษณะการสื่อสารสองทาง โดยเมื่อผู้ส่งได้ส่งข้อมูลข่าวสารไปแล้ว ทางฝ่ายผู้รับทําการแปลความหมายข้อมูลที่รับมา และจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับกลับเป็นผู้ส่งเดิมเพื่อตอบสนองต่อ สิ่งที่รับมา

ทฤษฏี SMCR ของเบอร์โล (Berio) เดวิด เค. เบอร์โล (David K.Berlo) ได้พัฒนาทฤษฎีที่ผู้ส่งจะส่งสารอย่างไร และผู้รับจะรับ แปลคววามหมาย และมีการโต้ตอบกับสารนั้นอย่างไร ทฤษฏี S M C R ประกอบด้วย

ลักษณะของทฤษฏี S M C R
ระบบสังคมและวัฒนธรรม (socio - culture systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกําหนดพฤติกรรมของประชาชนในประเทศนั้น ๆ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกัน เช่น การให้ความเคารพต่อผู้อาวุโส
ระดับความรู้ (knowledge levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียมกันก็จะทําให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี
ทัศนคติ (attitudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับ มีทัศนคติที่ดีต่อกันจะทําให้การสื่อสารได้ผลดีทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับด้วย
ทักษะในการสื่อสาร (communication skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชํานาญในการส่งและการรับการเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
ทฤษฏี S M C R ประกอบด้วย
ผู้รับ (receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน “การถอดรหัส” (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม
ช่องทางในการส่ง (channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสาร ข้อมูลโดยผ่านประสานทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
ข้อมูลข่าวสาร (message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร
ผู้ส่ง (source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชํานาญในการสื่อสารโดยมีความสามารถใน “การเข้ารหัส” (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสารมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง

สูตรการสื่อสารของลาสแวลล์ (Lesswell) คือ ใคร พูดอะไร วิธีการและช่องทางใด ส่งไปยังใคร ได้ผลอย่างไร

ได้ผลอย่างไรในปัจจุบัน และอนาคต (With what effect, immediate and long term ?) การส่งข่าวสารนั้นเพื่อให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉย ๆ หรือจดจําด้วยซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน
ส่งไปยังใคร ในสถานการณ์อะไร (To whom, in what situation) ผู้ส่งจะส่งข่าวสารไปยัง ผู้รับเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร
วิธีการและช่องทางใด (By what means, in what channel) ผู้ส่งทําการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกริยาท่าทาง ใช้ภาพ
พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร (Says what, with what purpose) เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับ เนื้อหาข่าวสารที่ส่งไป
ใคร (Who) เป็นผู้ส่งหรือทำการสื่อสาร เช่น ผู้อ่านข่าวเป็นผู้ส่งข่าวารไปยังผู้ฟังทางบ้าน