Categorieën: Alle - นักศึกษา - วิจัย - ทักษะ - แบดมินตัน

door Kridsada Aengchauen 4 jaren geleden

325

Organigram

การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการตีลูกงัดโยนในกีฬาแบดมินตันถูกดำเนินการเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายและเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมถึงเสริมสร้างความคล่องแคล่วว่องไว นักศึกษาได้รับการฝึกทักษะการตีลูกงัดโยนในลักษณะที่ถูกต้องตามหลักการ ซึ่งทำให้พวกเขามีความชำนาญมากขึ้น การฝึกนี้ยังมีผลดีต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้นักศึกษารู้สึกดีและมีความสุขมากขึ้น การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร โดยมีการศึกษาผลก่อนและหลังการฝึกเพื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าในทักษะการตีลูกงัดโยน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความสามารถในการตีลูกงัดโยนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากได้รับการฝึก การตีลูกงัดโยนที่ถูกต้องมีการเหวี่ยงไม้แบดมินตันไปด้านหน้า ข้อมือนำมาก่อน และเปลี่ยนน้ำหนักตัวมาที่เท้าหน้า หัวไม้แบดมินตันจะเหวี่ยงอย่างรวดเร็วและกระทบลูกขนไก่ทางด้านล่าง นักศึกษาต้องรักษาการทรงตัวให้ดีและยืดลำตัวกลับมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมหลังจากตีลูกเสร็จ

Organigram

การพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬา แบดมินตัน(การตีลูกงัดโยน)https://sites.google.com/site/karphathnabaedmintan/home

วิธีการตีลูกโยนงัด

ศอกชี้ลงพุ่งไปยังจุดที่ตีลูกซึ่งอยู่ตรงด้านหน้าซ้ายของลำตัว เหวี่ยงแขนขวาสูงเคลื่อนไปทางลูกขนไก่
ให้หัวไม้แบดมินตันชี้ไปทางด้านหลังเสมอจนกระทั่งถึงจังหวะที่จะตีลูก ก่อนหน้าที่จะตีลูก เหวี่ยงไม้แบดมินตันอย่างรวดเร็ว แรง ไปทางด้านหน้างัดให้สูงขึ้นถูกลูกขนไก่ทางด้านล่าง

หน้าไม้อยู่ในแนวเดียวกับลูกขนไก่ และส่งลูกสูงขึ้นไปยังด้านหลังของสนามตรงข้าม

วิธีการตีลูกงัดโยนหน้ามือ

จุดที่ไม้แบดมินตันถูกลูกขนไก่จะอยู่ทางด้านหน้าของลำตัวด้านขวามือ เหวี่ยงไม้แบดมินตันไปด้านหน้า ข้อมือเคลื่อนที่นำมาก่อน
เปลี่ยนน้ำหนักตัวมาที่เท้าหน้า หัวไม้แบดมินตันเหวี่ยงมาข้างหน้าด้วยความเร็วสูง กระทบลูกขนไก่ทางด้านล่างหลังจากตีแล้วรักษาการทรงตังให้ดี

เท้าอยู่ติดพื้น ย่อตัวต่ำ ขณะที่แขนเคลื่อนทีไปตามลูกไปให้สูงเหมือนกับว่าให้ไม้แบดมินตันลอยไปเหมือนกับลูกขนไก่ จากนั้นยืดลำตัวยืดขึ้นกลับไปอยู่ในท่าเตรียมพร้อม

ประโยชน์ของการวิจัย

ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีความคล่องแคล่วว่องไว
ช่วยให้อารมณ์ดีและจิตใจแจ่มใส

ได้รู้ทักษะการตีลูกงัดโยนที่ถูกต้อง

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น โปรแกรมการตีลูกงัดโยน
ตัวแปรตาม ความชำนาญในการตีลูกงัดโยน

ขอบเขตการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร จำนวน

สมมุติฐาน

นักศึกษามีความสามารถการตีลูกงัดโยนหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียน
นักศึกษามีทักษะการตีลูกงัดโยนหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียน

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาแบบฝึกทักษะการตีลูกงัดโยนของกีฬาแบดมินตัน
เพื่อพัฒนาทักษะการตีลูกงัดโยนของกีฬาแบดมินตัน

เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกทักษะการตีลูกงัดโยนของกีฬาแบดมินตัน ของนักศึกษาก่อนและหลัง

Subtopic