Categorieën: Alle - นักศึกษา - ปัจจัย - พฤติกรรม - เทคนิค

door Piyatat Rodphet 4 jaren geleden

273

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทย�

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมสอบที่มีเนื้อหาทางกฎหมายมากมาย ซึ่งนักศึกษามักแสดงพฤติกรรมการอ่านที่แตกต่างกันออกไปตามเทคนิคที่ใช้ ความตั้งใจหลักของการศึกษานี้คือการค้นหาว่าวิธีการอ่านหนังสือแบบใดที่นักศึกษาใช้แล้วได้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ยังรวมถึงการสำรวจว่าพฤติกรรมการอ่านในช่วงสอบมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง งานวิจัยนี้มีฐานข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งที่ลงทะเบียนเรียนในสาขานิติศาสตร์ในปีการศึกษา 2563 ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจะช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนี้ได้ดียิ่งขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือและการเตรียมตัวสอบในอนาคต

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทย�

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมการอ่านหนังสือของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รัถพร ซังธาดา (2531: 159-160) ได้รวบรวมทฤษฏีการอ่านไว้ 2 ทฤษฎี
2.ทฤษฏี SQ3R เบอร์มีสเตอร์ (Burmeister)ได้อธิบายว่าประกอบด้วย

2.3 ขั้นอ่าน (Read) คืออ่านเพื่อที่จะได้รับคำตอบตามที่ตั้งคำถามไว้แล้วในขั้นที่ 2 โดยพยายามมุ่งหารายละเอียดเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดเจนในคำถามให้มากที่สุด

2.2 ขั้นตั้งคำถาม (Qestion) คือ ตั้งคำถามว่าต้องการอะไรจากหนังสือเล่มนั้น

2.1 ชันสำรวจ(Survey) หมายถึงการสำรวจดูผู้แต่ง ชื่อเรื่อง สำนักพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า จุดมุ่งหมาย และเเนวคิดของหนังสือเล่มนั้นๆ

1.ทฤษฎีของวิลเลียม เอส เกรย์ (William S. Gray) จัดกระบวนการอ่านเป็น 4 ขั้นตอน

1.4 ขั้นบูรณาการ เป็นขั้นที่ผู้อ่านสามารถนำความรู้ความคิดและความหมายที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์

1.3 ขั้นปฎิกิริยา เป็นขั้นที่อ่านโดยมีสติปัญญาและความรู้สึกที่สามารถประเมินได้ว่าผู้เขียนสื่อความหมายอะไร

1.2 ขั้นตอนเข้าใจความหมายของคำวลีและประโยคโดยใช้ประสบการณ์เดิมมาช่วยตีความหมายและพิจารณาจุดประสงค์ของผู้เขียนตลอดจนความคิดที่ผู้เขียนต้องการสื่อกับผู้อ่าน

1.1 ขั้นตอนการรู้จักคำ จำคำศัพท์ได้ถ่ายทอดเสียงและความหมายของคำในเรื่องนั้นๆได้

คำถามของการวิจัย

2.ปัจจัยอะไรที่มีส่วนช่วยหรือส่งผลต่อการอ่านหนังสืออย่างไร
1.พฤติกรรมในการอ่านหนังสือของนักศึกษาแต่ละคนเป็นอย่างไร

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

2.เพื่ออยากทราบเทคนิคการอ่านหนังสือในช่วงสอบว่านักศึกษามีพฤติกรรมกันอย่างไร
1.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกาาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง

ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย

จากการที่สมาชิกภายในกลุ่มได้ศึกษาในคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่งระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีสมาชิกทั้งหมดในสาขา 79 คน ซึ่งนักศึกษาในคณะนิติศาสตร์จะมีการสอบที่เ็นวิชาหลักที่เกี่ยวกับกฎหมายโดยมีเนื้อหาและมาตรามากมาย โดยแต่ละคนจะมีวิธีการอ่านหนังสือช่วงสอบที่แตกต่างกันจากที่ได้พบเจอมานั้นจึงเกิดมาเป็นความสงสัยและนำมาเป็นประเด็นในการทำวิจัยในครั้งนี้ วิจัยที่ได้จัดทำขึ้นนี้เพื่อการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อการศึกษาว่าในช่วงสอบ นักศึกษามีพฤติกรรมการอ่านหนังสือมากน้อยเพียงใด หรือแต่ละคนมีเทคนิควิธีการอย่างไร แล้ววิธีใดสามารถนำมาใช้แล้วเกิดผลชัดเจนมากที่สุด

ระเบียบวิธีวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้แบบสอบถาม(Google Form) ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ความคิดเห็นจากนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 79คน
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยการทำแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) และใช้(Excel) โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 79 คน โดยการนำแบบสอบถามที่ได้มาเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทุกคนใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและเป็นการลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองอย่างไม่จำเป็น
ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล
เดือนมีนาคม-เมษายน 2564
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
Excel
Google Foem
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได่แก่ นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 79คนเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
รูปแบบ/ประเภทของงานวิจัย
วิจัยเชิงสำรวจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

2.ได้ทราบถึงเทคนิควิธีการอ่านหนังสือในช่วงสอบของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง
1.ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านหนังสือของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่ง

การใช้คำนิยามเชิงปฎิบัติที่จะใช้ในการวิจัย

เทคนิค
ศิลปะหรือกลวิธีเฉพาะวิชานั้นๆ
พฤติกรรม
การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวม เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติ ระลึกชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ
การอ่าน
การรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคืออะไรและพูดอะไร
นักศึกษาสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ชั้นปีที่หนึ่งปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
นักศึกษาของสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ลงทะเบียนเรียน สาขา นิติศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563

ขอบเขตของงานวิจัย

ขอบเขตด้านระยะเวลา
เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน 2564 ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษาที่ 2563
ขอบเขตเนื้อหา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่านหนังสือ และ เทคนิคการอ่านหนังสือของนักศึกษา
ขอบเขตประชากร
ประชากรกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาของสำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ สาขา นิติศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563

สมมุติฐาน

นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง สำนักวิชา รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีความสัมพันธ์เรื่องปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านหนังงสือ และเทคนิคในการอ่านหนังสือของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน ซึ่งพฤติกรรมหรือเทคนิคต่างๆอาจมีผลต่อการสอบ