Categorieën: Alle - ออกกำลังกาย - นักศึกษา - เทคโนโลยี - เศรษฐกิจ

door Thapanee Intarat 4 jaren geleden

652

พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและตอบสนองต่อนโยบายสุขภาพแห่งชาติ ความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย เช่น มะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคหัวใจ จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2558 พบว่าอัตราการตายจากโรคเหล่านี้สูง การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญในการสร้างแนวทางในการส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับนักศึกษาโดยเฉพาะ การทำความเข้าใจและส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายจะช่วยสร้างสุขภาพที่ดีและยั่งยืนให้กับนักศึกษาและสังคมโดยรวม

พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

พฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ระเบียบวิธีวิจัย

งบประมาณ งบประมาณที่ใช้ทั้งหมด คือ 5,000 บาท โดยแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ค่าจ้างพิมพ์แบบสอบถามและรายงรนวิจัยฉบับสมบูรณ์ งบประมาณ 4,000 บาท ค่าถ่ายเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งบประมาณ 500 บาท ค่าถ่ายเอกสารเครื่องมือในการวิจับ งบประมาณ 500 บาท (แบบสอบถาม 300 บาท และแบบบันทึกข้อมูล 200 บาท)
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 164 คน
ประเภทของการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) และระเบียบวิจัยเชิงสำรวจโดยให้ปู้ตอบกรอกคำตอบเองในแบบสอบถาม (questionnaire) ผ่าน Google form

ขอบเขตการวิจัย

การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาสันักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล คณะผู้วิจัยกำหนดขอบเขตของการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็นกลุ่มของนักศึกษาสำนักวิขาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน164 คน โดยจำแนกตามเพศ ได้แก่ เพศชาย 26 คน และเพศหญิง 138 คน 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 ใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 จนถึง 26 เมษายน 2564

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ศิริรัตน์ กิรัญรัตน์ (2534 : 3¥ ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1. ทางด้านร่างกาย อวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถทำงานประสานงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง 2. ทางด้านจิตใจ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วจิตใจยังร่าเริงเบิกบาน ก็จะเกิดควบคู่กันมาเนื่องจากร่างกายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 3. ทางด้านอารมณ์ การมีอารมณ์เยือกเย็นจะสามารถทำงานหรือออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี 4. ทางด้านสติปัญญา การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ปลอดโปร่ง มีไหวพริบ มีความคิดสร้างรรค์ 5. ทางด้านสังคม สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานและผู้อื่นได้ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
หลักการออกกำลังกาย การกีฬาแห่งประเทศไทย (2557 : 3) ได้เสนอแนวปฏิบัติในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไว้ 10 ประการ ดังนี้ 1. การประมาณตน ควรออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกายแต่ละคนเพราะแม้ในคนเดียวกันในเวลาหนึ่งก็แตกต่างกันได้ 2. การแต่งกาย ต้องเหมาะสมกับประเภทและชนิดของกีฬาและสภาพภูมิอากาศ 3. เลือกเวลา ดิน ฟ้า อากาศ ควรกำหนดเวลาการออกกำลังกายให้แน่นอนและควรเป็นเวลาเดียวกันในทุกครั้ง 4. สภาพของกระเพาะอาหาร มีหลักทั่วไปว่าควรงดอาหารหนักก่อนออกกำลังกลาย 3 ชั่วโมง 5. การดื่มน้ำ สมรรถภาพทางกายจะบดต่ำลงเพราะร่างกายขาดน้ำ ร่างกายจะต้องมีปริมาณสำรองประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว 6. ความเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยทุกชนิดทำให้สมรรถภภาพลดลงและถ้าร่างกายต้องการพักผ่อนอยู่ แล้วหากออกกำลังกายเข้าอาจเกิดอันตรรยแก่ร่างกายได้ 7. ความเจ็บป่วยระหว่างออกกำลังกาย หากมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกายควรหยุดพักผ่อน 8. ด้านจิตใจ ต้องทำจิตใจให้ปลอดโปร่งขณะออกกำลังกาย 9. ความสม่ำเสมอ ผลเพิ่มสมรรถภาพต่าง ๆ นอกากจะขึ้นอยผู่กับปริมาณความหนักเบาของการฝึกซ้อมและการออกกำลังกายในครั้งต่อไป ยังขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอด้วย 10. การพักผ่อน หลังออกกำลังกายจำเป็นต้องพักผ่อน
ความหมายของการออกกำลังกาย สุชาติ โสมประยูร (2528 : 121) ได้กล่าวไว้ว่า การออกกำลังกาย คือ กิจกรรมทางร่างกายในทุกลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาหรือทำงานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่สมัครใจหรือไม่เต็มใจ และไม่ว่ากิจกรรมนั้นๆจะเป็นอาชีพหรือสมัครเล่น การที่ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว โดยจะออกแรงเพียงเล็กน้อยหรือมากเพียงใด หรือบางครั้งอาจจะอยู่กับที่กผ้ตาม ซึ่งเป็นผลทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติก็จัดได้ว่าเป็นการออกกำลังกายทั้งสิ้น เฉก ธนะสิริ และคณะ (2540 : 140) ให้ความหมายไว้ว่า การออกกำลังกาย หมายถึง การใช้กล้ามเนื้อและอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายทำงานมากกว่าการเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถต่าง ๆ ตามปกติในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายที่ดีและถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของอายุ เพศ และสภาวะร่างกาย
ความหมายของพฤติกรรม ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตวสถาน (2539 : 373) หมายถึง การกระทำทั้งด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม หรือการแสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึกเพื่อตอบสนองต่อสื่งเร้า พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นการกระทำที่บุคคลนั้นแสดงออกมา อาจสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสหรือไม่สามารถสังเกตได้ หรือเป็นปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าที่อาจปรากฎให้เห็นได้ หรืออาจอยู่ภายใน แต่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออก ซึ่งพฤติกรรมในเรื่องนี้จะเน้นเฉพาะพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นพฤติกรรมของมนุษย์ จึงหมายถึง ปฏิกิริยาของบุคคลที่สังเกตได้หรือไม่ได้ เช่น การพูด การเดิน การแสดง สีหน้า ความรู้สึก ความรู้ ความตั้งใจ เป็นต้น (นิตยา เพ็ญศิรินภา, 2544 : 60)

คำถามวิจัย

3. ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความสนใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
2. รูปแบบการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นแบบใด
1. นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความสนใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์ให้มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทำให้ทราบถึงความต้องการในเรื่องการออกกำลังกายและสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ด้านเพื่อตอบสนองความต้องการในการออกกำลังกาย
ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการออกกำลังกายที่มีผลต่อสุขภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นิยามศัพท์เฉพาะ

ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย หมายถึง ความสามารถในการอธิบาย และความเข้าใจของนิสิตเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถวัดได้โดยแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
พฤติกรรมการออกกำลังกาย หมายถึง การปฏิบัติหรือการกระทำที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งแสดงออกในเรื่องความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ
พฤติกรรม หมายถึง การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างของแต่ละบุคคลที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นประจำสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นสุขนิสัยติดตัวไปได้ โดยจะแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยการกระทำที่สังเกตเห็นได้และไม่สามารถสังเกตได้การออกกำลังกาย หมายถึง การประกอบกิจกรรมทางกาย โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว ทำให้ส่งผลดีต่อสุขภาพอนามัยแก่ผู้เข้าร่วมและสร้างความสนุกสนานแก่ผู้ที่ออกกำลังกายนั้น ๆ

สมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย

นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน
นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน
นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีรายได้แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน
นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ (หลักสูตรปกติ) ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่มีโรคประจำตัวแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อส่งเสริมและผลักดันความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์(หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่1 สหลำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์(หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่1 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์(หลักสูตรปกติ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ที่มาและความสำคัญ

การดำเนินชีวิตนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผลจากด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีความทันสมัย หรือด้านเศรษฐกิจ มีผลทำให้พฤติกรรมการดูแลสุขภาพในปัจจุบันเปลี่ยนไป การออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคภัยต่างๆ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไม่ว่าจะเกิดโรคภัย หากมีภูมิต้านทานที่ดีจากสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ก็จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข รายงานอัตราการตายของประชากรไทยในปี2558 5 อันดับแรกจำแนกตามสาเหตุ ได้แก่ 1. มะเร็งทุกชนิด 2. โรคหลอดเลือดในสมอง 3. ปอดอักเสบ 4. โรคหัวใจขาดเลือด 5. อุบัติเหตุจากการคมนาคมทางบก ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถสรุปได้ว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ เป็นการป้องกันการก่อให้เกิดโรคที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของประเทศไทยได้ ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย เพื่อนำผลวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม สร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกายของนักศึกษาชั้นปีที่1 ของสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์(หลักสูตรปกติ) มหาวิทายาลัยวลัยลักษณ์ ให้มีสุขภาพดีสนองต่อนโยบายเมืองไทยสุขภาพดี รวมถึงสนองต่อแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติอีกด้วย