Fundamental of Research
คุณลักษณะของการวิจัย
11 การวิจัย จะต้องมีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัยด้วยความระมัดระวัง
ในการใช้คำที่มีความหมาย
10 การวิจัย เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการด้วยความอดทน ไม่เร่งรีบ และจะต้อง
ยอมรับ/เผชิญอุปสรรคในวิธีการได้มาของคำตอบในการวิจัย
9 งานวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการแสวงหาคำตอบที่นำมาใช้ตอบคำถามของปัญหาที่ ยัง
ไม่สามารถแก้ไขได้
8 การวิจัย จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้เหตุผลตามหลักความเป็นจริงที่จะสามารถ
ทดสอบได้และวิธีการที่เหมาะสม
7 การวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการโดยใช้ความรู้ความชำนาญของผู้วิจัยที่จะต้องรับรู้
ปัญหาที่ตนเองจะทำวิจัย
6 การวิจัยจะต้องมีระบบ มีวิธีการ แบบแผนการวิจัย และการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่
จะทำให้ได้ข้อสรุปการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ
5 การวิจัย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน
การตอบคำถามตามจุดประสงค์ใหม
4 การวิจัยจำเป็นจะต้องมีกระบวนการสังเกตที่ถูกต้อง ชัดเจน และบรรยายปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
3 การวิจัย มีแนวคิดพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกต
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical)
2 การวิจัย เป็นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือ
คาดการณ์โดยเฉพาะในกรณีที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
1 การวิจัย เป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้าย ที่เป็นการค้น
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
3 การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล โดย
ที่ปัญหาในบางปัญหาไม่สามารถท าการวิจัยได้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้
2 การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และทฤษฏีที่ใช้ในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะ
เกิดขึ้นในอนาคต หรือเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร
1 เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีความเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน
ความหมายของการวิจัย (Meaning of Research)
การวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจาก
อคติส่วนตัว สามารถตรวจสอบได้ที่ผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษา ค้นคว้าข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้
ตัวแปรและสมมติฐาน
2. ลักษณะและชนิดของตัวแปร
ชนิดของตัวแปร
4) ตัวแปรสอดแทรก (intervening variable) เป็นตัวแปรอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อตัว
แปรตามคล้าย ๆ ตัวแปรแทรกซ้อน
3) แปรแทรกซ้อนหรืออาจเรียกว่าตัวแปรเกิน (extraneous variable) เป็นตัวแปรที่ไม่
ต้องการศึกษาของงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ ในขณะนั้น
2) ตัวแปรตาม (dependent variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจากตัวแปรอิสระ
1) ตัวแปรอิสระ (independent variable) หมายถึงตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนและ เป็นตัวเหตุ
ทำให้เกิดผลตามมา
ลักษณะของตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษาทางด้านธุรกิจส่วนใหญ่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับ
คุณลักษณะและลักษณะ พฤติกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ
2) ตัวแปรนามธรรม (Construct) หมายถึง ตัวแปรที่แสดงความหมายใน ลักษณะ
เฉพาะตัวบุคคล
1) ตัวแปรรูปธรรม (Concept) หมายถึงตัวแปรที่แสดงความหมายในลักษณะ ที่คนทั่วไป
รับรู้ได้ตรงกันหรือสอดคล้องกัน
1. ความหมายของตัวแปร
ตัวแปร (variables) หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริง
ธรรมชาติของการวิจัย
การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย หมายถึง การวิจัยที่มีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการ
โดยที่ผู้วิจัยที่มีความรู้ความสามารถ
การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่ หมายถึง การวิจัยในแต่ละครั้งจะต้องมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูลใหม่เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น ๆ
การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่จะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่
เกี่ยวพันกันระหว่างปัญหา(ตัวแปรตาม) กับวิธีการแก้ปัญหา(ตัวแปรต้น)
การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย หมายถึง การวิจัยจะมีวิธีการในการดำเนินการวิจัยที่ให้
ผู้วิจัยได้เลือกใช้อย่างหลายหลายวิธีการตามความเหมาะสมของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ หรือ
การดำเนินการวิจัย
การวิจัยมีเหตุผล หมายถึง การวิจัยเป็นการด าเนินการที่จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนใน การ
ดำเนินการทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบ ได้อย่าง
ชัดเจน
การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง การวิจัยต้องมีความคงเส้นคงวาในการดำเนินการวิจัย
การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง การวิจัย ใด ๆ จำเป็นต้องมีความเที่ยงตรง
การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการที่มีจุดมุ่งหมาย
การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ หมายถึง การวิจัยเป็นการดำเนินการตามขั้นตอน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ หมายถึง การวิจัยเป็นกระบวนการแสวงหาค าตอบที่
ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้
แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย
5 กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature)
4 กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature)
1 กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature)
3 กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature)
2 กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature)
ขั้นตอนในการวิจัย
7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง
5.1 ชื่องานวิจัย
5.2 ภูมิหลังหรือที่มาของปัญหา
5.3 วัตถุประสงค์
5.4 ขอบเขตของการวิจัย
5.5 ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย
5.6 คำนิยามศัพท์เฉพาะ (ในกรณีที่จำเป็น)
5.7 สมมุติฐาน (ถ้ามี)
5.8 วิธีดำเนินการวิจัย
5.9 รูปแบบของงานวิจัย
5.10 การสุ่มตัวอย่าง
5.11 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
5.12 การวิเคราะห์ข้อมูล
5.13 แผนการทำงาน
5.14 งบประมาณ
4) การกำหนดสมมุติฐาน หมายถึง การเขียนข้อความที่เป็นข้อคาดหวังเกี่ยวกับความแตกต่าง
ที่อาจเป็นไปได้
3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาสาระความรู้ แนวคิด ทฤษฎี
และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสาร
2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา
1) เลือกหัวข้อปัญหา เป็นการตอบค าถามที่ว่าเราจะท าวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้
รอบคอบด้วยความมั่นใจและเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา
ประเภทของการวิจัย
ประเภทของการวิจัยจำแนกตามการจัดกระทำ
การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง(True Experimental Research) เป็นการวิจัย ที่ใช้
ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร
การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ไม่สามารถ
ดำเนินการในกระบวนการวิจัยได้อย่างครบถ้วน
การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research) เป็นการวิจัยที่
ศึกษาปรากฏการณ์ที่เป็นธรรมชาติ โดยไม่ได้มีการจัดกระทำสิ่งทดลองให้ในการทดลอง
จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย
การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented
Research)
การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented
Research)
การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research)
จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย
การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) เป็นการวิจัยที่ใช้เวลาอย่าง
ต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำให้ได้ผลสรุปของข้อมูลที่ชัดเจน
การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) เป็นการวิจัยที่ใช้
เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วนำมาสรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ
จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์
การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การ
ปกครอง และการศึกษา
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)
การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ใช้บรรยายคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้น ๆ
การศึกษาพัฒนาการ(Developmental Studies)
การศึกษาแนวโน้ม(Trend Studies)
การศึกษาความเจริญงอกงาม(Growth Studies)
การศึกษาความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)
การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research)
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้
ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐานปรากฏอยู่
จำแนกตามลักษณะ (ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล
การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูล
จากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นข้อความที่บรรยายลักษณะ
การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่เก็บรวบรวมข้อมูล
จากตัวแปรที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่ระบุระดับความมาก/น้อยของปรากฏการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนดให้
จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย
การวิจัยการนำไปใช้ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในผลการวิจัยพื้นฐานมาใช้ประโยชน์
การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ ((Basic Research or Pure Research) เป็นการแสวงหาความรู้ความจริงเชิงทฤษฎี
การจัดกระทำข้อมูล
การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน
Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน
หรือเสนอในรูปแบบของตารางหรือแผนภูมิต่าง ๆ
Processing เป็นขั้นตอนของการจัดแบ่งประเภทของข้อมูล
Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์