จัดทำโดย น.ส. จสุณิตา วงค์ตุ่น ม.๖/๒ เลขที่๑๕ ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/chung_boonnak/index.html http://mattayom.bsru.ac.th/index.php/2012-05-10-14-10-42 https://youtu.be/DZKNtFa9EO8
ช่วง บุนนาค
เกียรติคุณและอนุสรณ์
แสตมป์ เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปี ชาตกาล สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้ตั้งโรงเรียนมัธยมขึ้น ณ จวนสมเด็จเจ้าพระยาขึ้นใหม่ เรียกว่า "โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 โดยมีตราประจำโรงเรียน คือ รูปเสมาสุริยมณฑล เพื่อเป็นเกียรติแด่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ตราผู้สำเร็จราชการของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์) เกียรติยศ
ดวงตราประจำตัว
ตรามหาสุริยมณฑล สำหรับประกอบอิสริยยศสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ภายหลัง ได้ใช้เป็นตรากระทรวงการคลังก่อนจะเปลี่ยนเป็น ตราปักษาวายุภักษ์ในปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (พ.ศ. 2412)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (พ.ศ. 2416)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็น ที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 มหาวราภรณ์ (ระหว่าง พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2416)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม ชั้นที่ 1 มหาสุราภรณ์ (พ.ศ. 2419))
บรรดาศักดิ์
พ.ศ. 2369 อายุได้ 18 ปี เป็น นายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร
พ.ศ. 2376 อายุได้ 25 ปี เป็น หลวงสิทธิ์ นายเวร มหาดเล็ก ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า หลวงนายสิทธิ์
พ.ศ. 2384 อายุได้ 33 ปี เป็น จมื่นไวยวรนาถ หัวหมื่นมหาดเล็ก
พ.ศ. 2385 อายุได้ 34 ปี รัชกาลที่ 3 ทรงเพิ่มสร้อยนามพระราชทานว่า “จมื่นไวยวรนาถ ภักดีศรีสุริยวงศ์”
พ.ศ. 2393 อายุได้ 42 ปี เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ วางจางมหาดเล็ก
พ.ศ. 2394 อายุได้ 43 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมันพงศพิสุทธิ มหาบุรุษรัตโนดม ว่าที่สมุหพระกลาโหม
พ.ศ. 2398 อายุได้ 47 ปี เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ อัครมหาเสนาบดี ที่สมุหพระกลาโหมเต็มตำแหน่ง
พ.ศ. 2412 อายุได้ 61 ปี เลื่อนยศเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2416 อายุได้ 65 ปี เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ศ์
(คลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นแม่กองในการขุด) บทบาทเมื่อเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
นายเฮนรี อะลาบัสเตอร์ ผู้รักษาการณ์กงสุอังกฤษ กล่าวว่า สยามไม่ปฏิบัติตามสนสัญญาถึงขนาด ลดธงชาติอังกฤษลงครึ่งเสา เป็นการแสดงว่า ได้ตัดพระราชไมตรี กับไทย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ใช้ความเฉียบแหลมและเด็ดขาดระงับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
-สนใจและมีบทบาทในการทะนุบำรุงและเผยแพร่วรรณกรรม โดยเฉพาะ งานวรรณกรรมจีน -จัดพิมพ์วรรณกรรมไทย เช่น พระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเรื่อง อิเหนา -ชอบดูละครและฟังดนตรี ท่านจึงได้ ส่งเสริมโดยการหาครูละครและดนตรี มาฝึกคณะละครของท่านจนได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในสมัยนั้น ท่านได้ให้ พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก แต่งเพลงขึ้นใหม่ ตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "พระอาทิตย์ชิงดวง” ตามสร้อยราชทินนามและตราสุริมณฑลซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งของท่าน
Subtopic
กฎหมายและขนบธรรมเนียมประเพณี
ได้มีการออก พระราชบัญญัติต่าง ๆ ให้การพิจารณาคดีในศาลรวดเร็วขึ้น
การก่อสร้างและการบำรุงการคมนาคม สร้างประภาคาร ที่มีพระราชดำริมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัวและควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวท่านเอง นอกจากนี้ ท่านก็ยัง ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นแม่กองในการก่อสร้างและบูรณะสถานที่ต่าง ๆ
การจัดระเบียบราชการและ พระราชานุกิจ อาศัยแนวคิด 2 ประการ คือ ประการแรก การบังคับบัญชาข้าราชการบ้านเมือง เป็นไปด้วยการปรึกษาหารือ พร้อมเพรียงกันของข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารซึ่งจะมีการประชุมกัน ประการที่สอง คือ การฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสามารถว่าราชการบ้านเมือง ได้เอง
แถวหน้า : กรมหลวงวงศาธิราชสนิท, สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์, Eulenbourg ราชทูตปรัสเซีย แถวหลัง: เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุญยรัตพันธุ์), ไม่ทราบนาม บทบาทก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
การอัญเชิญ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริให้จัดกรมทหารแบบยุโรปขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ท่านควบคุมบังคับบัญชาจัดตั้งขึ้น เรียกว่า “ทหารอย่างยุโรป” โดยมีโรงทหารตั้งอยู่ที่บ้านพระยาศรีสุริยวงศ์และมีสนามฝึกหัด อยู่ข้างวัดบุปผาราม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้รับมอบหมายให้จัดเลกหมู่ทหาร ฝึกหัดยุทธวิธีแบบตะวันตกเพิ่ม
เจรจาแก้ไขสนธิสัญญา ทางการค้าที่ นาย “หันแตร บารนี” หรือเฮนรี เบอร์นี เข้ามาทำไว้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ สนธิสัญญาเบอร์นี สำเร็จลง ด้วยความรวดเร็วและเรียบร้อย มีการลงนามสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ที่เรียกว่าสนธิสัญญาเบาริง
ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับ คณะทูต นำโดย เซอร์จอห์น เบาริง ที่ปากน้ำ นำคณะทูตเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศและรับความเจริญ มาจากชาติตะวันตก เช่น การแพทย์ การพิมพ์ และ การรักษาพยาบาล ที่ทันสมัยของ หมอสอนศาสนาคริสต์ ท่านหมั่นเพียรเรียนรู้วิชาการตะวันตกกับชาวต่างประเทศ มาตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่ม ทำให้ท่านสามารถต่อ "เรือกำปั่น" ได้เอง และนับเป็น นายช่างไทยคนแรก ที่สามารถ ต่อเรือแบบฝรั่งได้
(เรือกำปั่นไฟสมัยใหม่ควบคุมการต่อโดยจหมื่นไวยวรนาถ) การรับราชการ
เป็นบุคคลที่ ดำรงบรรดาศักดิ์ ระดับ "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย ของประวัติศาสตร์ไทย
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อร.๕ได้ขึ้นครองราชสมบัติ แต่ยังทรงพระเยาว์ จึงได้รับเลือกให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในราชการแผ่นดิน ทั่วราชอาณาจักร ระหว่าง พ.ศ. 2411-2416
“ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็นเสมือนแม่ทัพแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็เป็นเสมือนเสนาธิการ ช่วยกันทำงาน มาตลอดรัชกาลที่ 4” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าว)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เลื่อนเป็น นายไชยขรรค์ มหาดเล็กหุ้มแพร -> หลวงสิทธิ์ นายเวรมหาดเล็ก -> จมื่นไวยวรนาถภักดีศรีสุริยวงศ์ -> พระยาศรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็ก ตามลำดับ
ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ชื่อว่า มหาดเล็กช่วง โดยช่วยบิดาทำงาน ด้านการคลังและกรมท่า รวมทั้งติดต่อกับ ต่างประเทศ
ประวัติส่วนตัว
ได้รับการศึกษา และฝึกฝน วิชาการต่าง ๆ เป็นอย่างดี
เกิดในตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
บรรพบุรุษของตระกูลบุนนาคเป็นเสนาบดี คนสำคัญ มาตั้งแต่ สมัยอยุธยา
บุตรคนใหญ่ของ สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) และท่านผู้หญิงจัน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือ ช่วง บุนนาค