Categories: All - ประชาชน

by kanokporn Chaneiad 4 years ago

566

พัฒนาการของเงินตรา

ในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ของประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในระบบเงินตรา โดยเริ่มมีการใช้เหรียญเงินที่ผลิตด้วยเครื่องจักรจากอังกฤษแทนการผลิตด้วยมือ ซึ่งไม่ทันกับความต้องการของตลาดในขณะนั้น ได้มีการผลิตเหรียญเงินหลายชนิดรวมถึงเหรียญดีบุกเพื่อแก้ปัญหาจำนวนเงินตรามูลค่าต่ำ นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองเหลืองและทองแดงในการผลิตเหรียญชนิดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเงินปลีกแทนเบี้ยหอย ในช่วงนี้ยังได้มีการนำธนบัตรเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก เรียกว่า "

พัฒนาการของเงินตรา

พัฒนาการของเงินตรา

เงินตราไทยก่อนรัชกาลที่ ๔ สมัยรัตนโกสินทร์

เบี้ย
เบี้ยเป็นหอยทะเล เฉพาะที่ใช้เป็นเงินตรามี ๒ ชนิด เรียกชื่อว่า เบี้ยจั่น และเบี้ยนาง ซึ่งพ่อค้าชาวต่างชาตินำเข้ามาขาย บางครั้งเมื่อไม่มีเรือสำเภานำเบี้ยเข้ามาขาย และเกิดขาดแคลนเงินปลีก ราคาของเบี้ยก็เพิ่มสูงขึ้นได้ ในสมัยอยุธยาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงแก้ปัญหาขาดแคลนเบี้ย โดยทรงทำดินเผาประทับตราสิงห์ กระต่าย ดอกบัว กินรี และไก่ ใช้แทนเบี้ยชั่วคราว เรียกกันว่า “ประกับ”

เงินปลีก มีอัตราประมาณ ๑๐๐ เบี้ย ต่อ ๑ อัฐ หรือ ๘๐๐ ถึง ๑,๒๐๐ เบี้ย ต่อ ๑ เฟื้อง

เงินพดด้วง
สมัยกรุงธนบุรีกับรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์มีรูปร่างอ้วนกลมเหมือนสมัยอยุธยาตอนปลาย มีรอยบากเป็นเมล็ดข้าวสาร มีตราจักรและตราประจำรัชกาล เมื่อการค้ากับต่างประเทศขยายตัวขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเปลี่ยนจากเงินพดด้วงเป็นเหรียญกษาปณ์กลมแบน และมีการยกเลิกเงินการใช้เงินพดด้วงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2447 เหรียญกลมแบน

สมัยกรุงศรีอยุธยา

สมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงแรกรูปร่างคล้ายสมัยสุโขทัย แต่มีรอยบอกขนาดเล็กลง เรียกกันว่าตราเมล็ดข้าวสาร ตราจักร ด้านบนเป็นสัญลักษณ์ ตราด้านหน้าเป็นตราประจำรัชกาล เงินพดด้วงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

Subtopic

เงินตราไทยในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕

ธนบัตร
ธนบัตร ธนบัตรที่ใช้ในรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “หมาย” โดยใน พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงให้พิมพ์หมายด้วยกระดาษ มีมูลค่าตั้งแต่ เฟื้อง สลึง บาทตำลึง และชั่ง มีข้อความอันเป็นสัญญาจ่ายเงินโลหะให้แก่เจ้าของหมาย ที่นำไปแลกกับพระคลัง พร้อมทั้งประทับตราพระแสงจักร และตราพระมหามงกุฎสีแดงชาดด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นพระราชลัญจกรนามกรุงในหมายชนิดราคาต่ำ ส่วนในหมายชนิดราคาสูง จะประทับด้วยพระราชลัญจกรไอยราพต (องค์กลาง) ไว้

นอกจากนี้ ยังโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ใบพระราชทานเงินตราหรือเช็คขึ้นใช้อีกด้วย แต่ทั้งหมายและใบพระราชทานเงินตรา ซึ่งเป็นเงินตราชนิดใหม่ทำด้วยกระดาษ ประชาชนไม่นิยม จึงมีใช้เฉพาะในรัชกาลของพระองค์เท่านั้น

เหรียญเงิน
เหรียญเงิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวยุโรปเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าจากไทยจำนวนมาก การผลิตเงินพดด้วงด้วยมือจึงทำได้ไม่ทันกับความต้องการใช้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์เงิน ด้วยเครื่องจักรที่นำมาจากประเทศอังกฤษแทน

ใน พ.ศ. ๒๔๐๑ เริ่มผลิตเหรียญเงินชนิด บาท สลึง และเฟื้อง ตราพระแสงจักรและตราพระมหามงกุฎ เมื่อได้นำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาแล้ว จึงเริ่มผลิตเหรียญเงินชนิดราคาบาท กึ่งบาท สลึง เฟื้อง และกึ่งเฟื้อง ขึ้นเป็นจำนวนมาก

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๐๕ ได้แก้ไขปัญหาจำนวนเงินตรามูลค่าต่ำ โดยผลิตเหรียญอัฐและโสฬสด้วยดีบุก เพื่อใช้เป็นเงินปลีกแทนเบี้ยหอย รวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญชนิดราคา ซีกและเสี้ยวด้วยทองเหลืองและทองแดงขึ้นใช้ด้วย

มาตราของเงินไทยภายหลังจากได้มีการปรับปรุงแล้วจึงเป็นดังนี้ ๒ โสฬส เท่ากับ ๑ อัฐ ๒ อัฐ เท่ากับ ๑ เสี้ยว ๒ เสี้ยว เท่ากับ ๑ ซีก ๒ ซีก เท่ากับ ๑ เฟื้อง ๒ เฟื้อง เท่ากับ ๑ สลึง ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง ๒๐ ตำลึง เท่ากับ ๑ ชั่ง