カテゴリー 全て - ทฤษฎี - วิจัย - สื่อสาร - เทคโนโลยี

によって วัชชิรญา มิระสิงห์ 8年前.

9101

ทฤษฎีการสื่อสาร

การสื่อสารมวลชนเริ่มต้นจากการแยกตัวจากทฤษฎีสังคมวิทยา จิตวิทยา และภาษา จนกลายมาเป็นศาสตร์เฉพาะที่มีเป้าหมายวิจัยผลของสื่อมวลชนที่มีต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทฤษฎีการสื่อสารมวลชนได้รับการพัฒนาจากนักวิชาการหลายคน เช่น วิลเบอร์ ชรามม์ เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล รวมถึงทฤษฎีระบบของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ และทฤษฎีการสื่อสารของมนุษย์ของเบอร์โล นอกจากนี้ยังมีการสื่อสารระหว่างบุคคลจากไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และออสกูด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐพัฒนาการศึกษานิเทศศาสตร์ที่เน้นการปฏิบัติงานทางวิชาชีพและการวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎี โดยได้รับอิทธิพลจากนักวิชาการยุโรป เช่น ลูอิน และลาซาร์สเฟลด์ การพัฒนาการสื่อสารสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เริ่มจากยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม และยุคปัจจุบันที่เป็นยุคของการสื่อสารที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

ทฤษฎีการสื่อสาร

ทฤษฎีการสื่อสาร

พัฒนาการของการสื่อสาร

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกนับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุค
เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม

ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม

ถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร

เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสารเพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากและอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็วหลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้นย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนาน พร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ

แหล่งอ้างอิง

วลียพร สีคำ.(2554)แนวคิด หลักการ และทฤษฎีในการสื่อสาร สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์ http://walaiporn-nan26.blogspot.com/
Jirarat Tesarin.(2556).หลักการและทฤษฏีการสื่อสาร สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์ http://www.slideshare.net/jirarattesarin/ss-25607524
จอมยุทธ .(2543).ทฤษฎีของการสื่อสาร สืบค้นเมื่อวันที่28/01/2560. จากเว็ปไซต์ http://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/index_2.html
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก.(2555).หลักและทฤษฏีการสื่อสาร สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์ https://pirun.ku.ac.th/~agrpct/envelop/com%20theory.doc
panyar rk.(2555).ทฤษฎีการสื่อสาร สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์ https://www.gotoknow.org/posts/491949%2520

ประวัติความเป็นมา

แต่กลุ่มทฤษฎีระบบ (Systems Theories) ของวีเนอร์ แชนนอน และวีเวอร์ (Wiener – Shannon – Weaver) และในเชิงการสื่อสารของมนุษย์ (Human Communication) ของเบอร์โล (Berlo) รวมทั้งในเชิงการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) ของไฮเดอร์ นิวคอมบ์ เฟสติงเกอร์ และออสกูด (Heider-Newcomb-Festiger-Osgood) ส่งผลให้การศึกษาด้านสื่อสารมวลชนขยายตัวออกไปครอบคลุมอาณาบริเวณของการสื่อสาร (communication spheres) ที่กว้างขวางขึ้น
ทฤษฎีของการสื่อสารจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น โดยค่อย ๆ แยกจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา จิตวิทยาและภาษา กลายมาเป็นศาสตร์ไหม่ในตัวของมันเองที่เรียกว่า การสื่อสารมวลชน (masscommunication study) มุ่งวิจัยผลของสื่อมวลชนที่มีต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรมเราเรียกทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ในระยะเริ่มแรกนี้ว่า ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน (Mass Communication Theory) ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากผลงานของ วิลเบอร์ ชรามม์ เมลวิน เดอเฟอร์ และเดนิส แมคเควล
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐได้พัฒนาการศึกษานิเทศศาสตร์ที่เน้นสอนการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ (professional practice) ไปสู่การศึกษาวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยแรงผลักดันส่วนหนึ่งจากอิทธิพลทางปัญญา (intellectual influence) ของนักวิชาการที่อพยพมาจากยุโรป อาทิ ลูอิน และลาซาร์สเฟลด์

วิวัฒนาการของทฤษฎีการสื่อสาร

ทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน
ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกตั้งแต่ประมาณปี 1980 ถึงประมาณปี 1995 และช่วงที่สองประมาณปี 1990 จนถึงปัจจุบัน คือปี 2002

2. ในช่วงที่สองของทฤษฎีการสื่อสารยุคปัจจุบัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ประมาณกลางทศวรรษ 1990 มาถึงปี 2002 นับว่าเป็นช่วงวิกฤตทางทฤษฎี (Theoritical Crisis) ที่สำคัญมากอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ทฤษฎีการสื่อสาร ทั้งนี้เพราะถึงแม้โลกจะมีเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ตที่สามารถทำให้ทุกองค์กรและทุกสังคมติดต่อเชื่อมโยงกันได้ในอาณาจักรไซ เบอร์ (Cyberspace) หรือโลกไซเบอร์ (Cyberworld) แต่โลกภายใต้การบริหารจัดการขององค์กรโลก หรือสหประชาชาติก็ยังอยู่ในสภาพไร้ระเบียบและแตกแยกจลาจลกันจนถึงขั้นทำศึกสงคราม

1. ในช่วงแรก มีแนวโน้มการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารมาใน 2 ทิศทาง คือ (1) การวิพากษ์เชิงองค์รวม (holistic approach criticism) ที่นำโลกการสื่อสารเข้าสู่ยุคหลังสมัยนิยม (2) การปฏิรูปแนวคิดและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารในสังคมใหม่

ทฤษฎีการสื่อสารยุคกลาง
ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนมาถึงทศวรรษ 1970 อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคโมเดิร์นนิสต์ (modernism) มีแนวโน้มสำคัญสี่ประการคือ (1) การวิพากษ์ทฤษฎีการสื่อสารของกลุ่มอำนาจนิยม และเบ็ดเสร็จนิยม (2) การก่อเกิดทฤษฎีสื่อสารเพื่อการพัฒนา หรือนิเทศศาสตร์พัฒนาการ (Development Communication Theory (3) การวิพากษ์ลัทธิสมัยนิยม (modernism) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิหลังสมัยนิยม (postmodernism) (4) การพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีอันเป็นที่มาของศาสตร์แห่งการสื่อสารมวลชน
ทฤษฎีการสื่อสารยุคต้น
ยุคนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกประมาณทศวรรษ 1890 ถึงประมาณทศวรรษ 1920 และช่วงที่สองทศวรรษที่ 1920 ถึงประมาณทศวรรษที่ 1940

ในช่วงที่สอง (ทศวรรษ 1920 ถึงทศวรรษ 1940)

ในช่วงที่สองนี้ อาณาเขตของทฤษฎีการสื่อสารได้ขยายออกไปครอบคลุมรัฐศาสตร์ของการสื่อสาร (Politics of Communication) เกิดปรากฏการณ์ที่อาจวิเคราะห์เชิงทฤษฎีออกได้เป็น 3 ปทัสถาน คือ ทฤษฎีเสรีนิยมแบบตะวันตก (Western Libertarianism) ทฤษฎีอำนาจนิยมนาซีและฟาสชิสต์ (Nazi-Fascist Authoritarianism) และทฤษฎีเบ็ดเสร็จนิยมมาร์กซิสต์-เลนินิสต์ (Marxist-Leninist Totalitarianism)

เป็นช่วงที่โลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤตการณ์ร้ายแรง คือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Depression) ในปี 1929 ผนวกกับความเติบโตของลัทธินาซีในเยอรมนี และลัทธิฟาสชิสต์ในอิตาลี ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง (1939 – 1945)

ช่วงแรกมีการพัฒนาวิชาการสื่อสาร ใน 6 ด้าน คือ

6 ทางด้านจิตวิทยาการสื่อสาร (Psychology of Communication)

5 ทางด้านสังคมวิทยาการสื่อสาร (Sociology of Communication)

4 ทางด้านหนังสือ

3 การปฏิวัติทางโทรคมนาคม

2 วิชาการภาพยนตร์

1 วารสารศาสตร์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ (print journalism)

อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ได้มีการพัฒนาวิชาการทางด้านการสื่อสาร สร้างเป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในสถาบันชั้นสูง เป็นการนำวิชาการสื่อสารเข้าสู่ยุคทฤษฎีช่วงแรก ก่อนที่จะวิวัฒนาการไปสู่ยุคสมัยนิยม จึงอาจเรียกยุคนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคก่อนสมัยนิยม (pre-modern age) มีแนวโน้มพัฒนาหลักการรายงานข่าวสารในชีวิตประจำวันให้เป็นศิลปะศาสตร์แขนงใหม่ที่เรียกว่า วารสารศาสตร์ (journalism)
ยุคก่อนทฤษฎีการสื่อสาร
ยุคก่อนทฤษฎี (pre-theoritical period) อาจย้อนหลังไปหลายล้านปี เมื่อสัตว์ประเภทหนึ่งได้มีวิวัฒนาการมาสู่ความเป็นมนุษย์นับกลับมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิวัฒนาการสามพันห้าร้อยล้านปีของสมองชีวิต (brain of life) ได้สร้างเสริมให้สมองของมนุษย์มีสมรรถนะหลายพันล้านเท่าของสมองแบคทีเรีย และนี่เองที่ทำให้มนุษย์วานรได้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ผู้ชำนาญในการใช้มือ (homo habills) มนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) มนุษย์ผู้ฉลาด (homo sapiens) และมนุษย์ผู้ฉลาดแสนฉลาด (homo sapiens sapiens) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ตลอดช่วงระยะเวลาของวิวัฒนาการสมองได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร 2 ระบบ คือ (1) การสื่อสารภายในร่างกาย (2) การสื่อสารระหว่างร่างกายกับภายนอก ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ (species) เดียวกัน และกับสิ่งภายนอกที่รับรู้ได้โดยอาศัยช่องทางหรือประสาทการสื่อสาร

ในยุคก่อนทฤษฎีนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการศึกษาเรื่องการสื่อสาร โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ชาร์ล ดาร์วิน (Charle Darwin) เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้เขียนหนังสือรายงานการศึกษาเล่มใหญ่ เรื่อง “The Expression of Emotions in Man And Animals” (การแสดงอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์) ในปี ค.3ศ. 1872

โดยสรุป ในช่วงก่อนทฤษฎีนี้ ยังมิได้มีการศึกษาการสื่อสารอย่างจริงจัง ทั้งในระดับวิชาชีพและวิชาการ ที่เห็นได้ชัดคือยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรการสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์เป็นสาขา (discipline) ในมหาวิทยาลัย แม้ว่าได้มีความพยายามที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสื่อสารบ้างแล้วก็ตาม

ความหมาย

ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายแง่มุม เช่น
โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message) ช่องทาง(Channel) และตัวผู้รับสาร(Reciever) ซึ่งมักเรียกกันว่า SMCR
ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสารไปยังยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับสารโดยผ่านช่องทางในการสื่อสาร
จอร์จ เอ มิลเลอร์ : เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
วิลเบอร์ ชแรมส์ : เป็นการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร
จอร์จ เกิร์บเนอร์ : เป็นการแสดงกริยาสัมพันธ์ทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร