Categorie: Tutti - จรรยาบรรณ - ปัญหา - การวิจัย - ข้อมูล

da Oraya Panich mancano 5 anni

440

บทที่ 3

การวิจัยเป็นกระบวนการสำคัญในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาทฤษฎีหรือแก้ไขปัญหาที่พบ นักวิจัยต้องมีความอดทนและไม่เร่งรีบ พร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำวิจัย การวิจัยที่มีประสิทธิภาพต้องมีระบบและวิธีการที่ชัดเจน รวมถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถทดสอบได้ตามหลักความเป็นจริง นอกจากนี้ยังต้องมีการทำรายงานและอ้างอิงข้อมูลอย่างถูกต้อง นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย รวมถึงการเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้เข้าร่วมในการศึกษา แนวคิดพื้นฐานของการวิจัยคือการสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ชัดเจน ผลการวิจัยต้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาทางวิชาการและสังคมให้ดีขึ้น

บทที่ 3

ความรู้พื้นฐานของการวิจัย (Foundation of Research)igram

จรรยาบรรณของนักวิจัย

นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคม
นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด
นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย
นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย
นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ

การเขียนคำถามวิจัย (Research Questions)

เขียนได้ 3 ลักษณะ คือ ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์ ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ
คำถามวิจัย ทำให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้น ๆ
คำถามวิจัย หมายถึง คำถามที่แสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ

ตัวแปรและสมมติฐาน

ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย อธิบายหรือตอบคำถามได้ สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริง สมเหตุสมผลตามทฤษฎี มีขอบเขตพอเหมาะไม่แคบหรือกว้างไป ถ้าแคบเกินไป เป็นต้น
แหล่งที่มาของสมมติฐาน
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากับผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ประสบการณ์เบื้องต้นของผู้วิจัย การได้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาที่จะศึกษากับบุคคลอื่น ๆ และ การสังเกตพฤติกรรม
ประเภทของสมมติฐาน
สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis)
สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis)
สมมติฐาน
การนิยามตัวแปรและการหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
การหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
การนิยามตัวแปร ทำได้ 2 ลักษณะ คือ การนิยามในลักษณะของการบอกองค์ประกอบ นิยามในลักษณะปฏิบัติการ
ลักษณะและชนิดของตัวแปร
ชนิดของตัวแปรแบ่งได้ 4 ชนิด คือ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรสอดแทรก และตัวแปรแทรกซ้อนหรืออาจเรียกว่าตัวแปรเกิน
ลักษณะแบ่งออกได้ เป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวแปรรูปธรรม (Concept) และตัวแปรนามธรรม (Construct)
ความหมายของตัวแปร หมายถึง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะ หรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยต้องการจะศึกษาหาความจริง

การจัดกระทำข้อมูล

การสรุปผลการวิจัยและเขียนรายงาน
ผลการวิจัย
วิธีการดำเนินการวิจัย
การตรวจสอบเอกสาร
บทนำ (ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ เป็่นต้น)
Output เป็นขั้นตอนที่นำผลจากการขั้นตอนที่ได้จากขั้น Processing มาเขียนเป็นรายงาน
Processing เป็นขั้นตอนของการจัดแบ่งประเภทของข้อมูล
Input เป็นการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์

ขั้นตอนในการวิจัย

7) ขั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
6) การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
5) การเขียนเค้าโครงการวิจัย
4) การกำหนดสมมุติฐาน
3) การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) การกำหนดขอบเขตของปัญหา
1) เลือกหัวข้อปัญหา

ประเภทของการวิจัย

จำแนกตามการจัดกระทำ
การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง(True Experimental Research)
การวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi Experimental Research)
การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น(Pre Experimental Research)
จำแนกประเภทการวิจัยตามเป้าหมายหลักของการวิจัย
การวิจัยที่มุ่งแสวงหาความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างตัวแปร(Causal-Oriented Research)
การวิจัยที่มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร(Correlation-Oriented Research)
การวิจัยที่มุ่งบรรยายตัวแปร(Descriptive-Oriented Research)
จำแนกตามเวลาที่ใช้ในการทำวิจัย
การวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research)
การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research)
จำแนกตามลักษณะของวิชา หรือศาสตร์
การวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research)
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific Research)
จำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย(Methodology)
การวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research)
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research)
จำแนกตามลักษณะ(ความลึก/ความกว้าง)ของข้อมูล
การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)
การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)
จำแนกตามประโยชน์ที่ได้รับหรือเหตุผลในการวิจัย
การวิจัยการนำไปใช้(Applied Research)
การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์(Basic Research or Pure Research)

ธรรมชาติของการวิจัย

การวิจัยต้องใช้ศักยภาพของผู้วิจัย
การวิจัยมีวิธีการที่หลากหลาย
การวิจัยต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่
การวิจัยเป็นการแก้ปัญหา
การวิจัยมีเหตุผล
การวิจัยมีความเชื่อมั่น (Reliability) คือ การวิจัยจะดำเนินการซ้ำกี่ครั้ง ก็จะได้ผลการวิจัยที่คล้ายคลึงกัน
การวิจัยมีความเที่ยงตรง (Validity)
การวิจัยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
การวิจัยเป็นการดำเนินการที่เป็นระบบ คือ เป็นขั้นตอน
การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงประจักษ์ คือ มีข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ชัดเจน

คุณลักษณะของการวิจัย

การวิจัย จะต้องมีการทำรายงานการวิจัย และอ้างอิงข้อมูลอย่างถูกต้อง
การวิจัย เป็นกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการด้วยความอดทน ไม่เร่งรีบ และจะต้องยอมรับ/เผชิญอุปสรรคในวิธีการได้มาของคำตอบในการวิจัย
งานวิจัย จะต้องเป็นการดำเนินการแสวงหาคำตอบที่นำมาใช้ตอบคำถามของปัญหาที่ ยังไม่สามารถแก้ไขได้
การวิจัย จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ โดยใช้เหตุผลตามหลักความเป็นจริงที่จะสามารถทดสอบได้
ผู้วิจัยจะต้องรับรู้ปัญหาที่ตนเองจะทำวิจัย และเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะที่ใช้
การวิจัยจะต้องมีระบบ มีวิธีการ แบบแผนการวิจัย และการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่จะทำให้ได้ข้อสรุปการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ
การวิจัย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลใหม่จากแหล่งปฐมภูมิ หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในการตอบคำถามตามจุดประสงค์ใหม่
การวิจัยจำเป็นจะต้องมีกระบวนการสังเกตที่ถูกต้อง ชัดเจน และบรรยายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
การวิจัย มีแนวคิดพื้นฐานของการได้รับข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical)
การวิจัย เป็นการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์และทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงหรือคาดการณ์
การวิจัย เป็นการแก้ปัญหาที่ช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายสุดท้าย

แนวคิดพื้นฐานของการวิจัย

กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ(Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าในปรากฏการณ์ ใด ๆ นั้น ความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ ที่มีความน่าจะเป็นในการเกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง
กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ(Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่นๆ ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ
กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ(Associative Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ในการเกิดปรากฏการณ์ใด ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะมีความมากน้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน
กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ(Systematic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่าปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลของธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน
กฎเหตุและผลของธรรมชาติ(Deterministic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอ

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

มีจุดมุ่งหมายใน 4 ลักษณะ คือ บรรยาย อธิบาย พยากรณ์ และควบคุม ในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
การวิจัยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือปรากฏการณ์ที่สังเกตได้มาใช้ในการสรุปผล
การวิจัยเป็นการสรุปผล หลักเกณฑ์ และเป็นการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อที่นำผลสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากร
เป้าหมายของการวิจัย คือ มุ่งหาคำตอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา

ความหมายของการวิจัย (Meaning of Research)

เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่มีระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจนปราศจากอคติส่วนตัว เพื่อนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ ทางสังคม หรือพัฒนาเป็นกฎ ทฤษฏี หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและเชื่อถือได้