Kategóriák: Minden - ทฤษฎี - การวิจัย - ประโยชน์

a Lif Apisit 6 éve

369

(Research proposal)

การจัดทำโครงร่างงานวิจัยมีความสำคัญในการวางแผนและกำหนดทิศทางให้กับการวิจัย โดยเริ่มจากการให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อลดความคลุมเครือของตัวแปรหรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ขอบเขตของการวิจัยจะต้องถูกกำหนดอย่างชัดเจนเพื่อให้การศึกษาครอบคลุมเฉพาะด้านที่ต้องการ เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถครอบคลุมทุกแง่ทุกมุมได้ การเขียนโครงร่างที่ดีต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่วิจัยอย่างถ่องแท้ ทั้งในด้านวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีการศึกษา และประโยชน์ที่จะได้รับ การทบทวนวรรณกรรมเป็นส่วนสำคัญที่ต้องจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบตามตัวแปรและลำดับเวลา เพื่อให้ผู้อ่านเห็นพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหา การกำหนดงบประมาณควรแบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการจัดการและควบคุมค่าใช้จ่าย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับต้องอธิบายอย่างชัดเจนถึงการนำไปใช้ในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติ เพื่อให้การวิจัยมีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ได้จริง

(Research proposal)

การเขียนโครงร่างงานวิจัย Research proposal

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

 อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการใหม่ๆซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์  เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุว่า ผลประโยชน์เกิดกับใคร เป็นส าคัญ

ระเบียบวิธีวิจัย

1.วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด 2.แหล่.ข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง 3.ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา 4.วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด 5.วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร 6.การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะท า อย่างไร

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

ผู้วิจัยต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดว่าจะใช้เวลานานเท่าใดและต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สหรับแต่ละขั้นตอนของการวิจัย เช่น ตารางปฏิบัติงานโดยใช้ Gantt Chart

ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย

 ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัย ซึ่งถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในต าแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ  ประวัติผู้ดำเนินการวิจัย ควรประกอบด้วยประวัติส่วนตัว (เช่น อายุ เพศ การศึกษา)

การเขียนโครงร่างการวิจัยที่ดี ความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ที่จะการวิจัยว่าจะทำวิจัย เรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไรและอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง หากผู้ที่ทำวิจัยไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็ยากที่จะเขียน ข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได

การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) ทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัย ใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาขออนุมัติทำวิจัย หรือขอทุนสำหรับทำวิจัย เพื่อให้ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่า การวิจัยที่จะทำนั้นมีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดีมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ และประโยชน์ สมควรได้รับการอนุมัติให้ทำการวิจัยได้

การวิจัย คือ กระบวนการค้นหาความรู้ ข้อเท็จจริง อย่างมีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ในการรวบรวมข้อมล วิเคราะห์และแปลความข้อมูล เพื่อแสวงหาคำตอบ สำหรับคำถามหรือประเด็นการศึกษาที่ตั้งไว้ ด้วยกระบวนการ อันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชาซึ่งในทางการแพทย์ นิยมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเชื่อว่าวิธีนี้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้มากที่สุด

ชื่อเรื่อง

ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน ระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากอาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย

เอกสารอ้างอิง

ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม

การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย

 ในการวิจัย อาจมีตัวแปรหรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต หรือวัดได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง

ภาคผนวก

 สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล  เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ  แต่ละภาคผนวกให้ขึ้นหน้าใหม

งบประมาณ

การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ 1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม 3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน 4 ค่าครุภัณฑ์ 5 ค่าประมวลผลข้อมูล 6 ค่าพิมพ์รายงาน 7 ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน

ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัย ไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขต ของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของ สาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

สมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย

การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนใน ลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นและตัวแปรตาม สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทาง ในการวิจัย จะช่วยเสนอแนะ แนวทางในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป สมมติฐานต้องตอบ วัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ครบถ้วนและทดสอบและวัดได้

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 การเขียนการทบทวนวรรณกรรม โดยจัดล าดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปร ที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็น พัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา
 การทบทวนวรรณกรรม เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ

คำถามของการวิจัย

 ผู้วิจัยต้องกำหนดปัญหาขึ้น และให้นิยามปัญหานั้นอย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่ส าคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้  ถ้าตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่าจะศึกษาอะไร การวางแผนในขั้นต่อไป เกิดความสับสนได้  คำถามของการวิจัยต้องเหมาะสม หรือสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษาเป็นคำถามหลัก  ผู้วิจัยอาจกำหนดให้มีคำถามรองก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้ มีความสำคัญรองลงมา แต่ผลของการวิจัยอาจไม่สามารถตอบคำถามรองนี้ได้ ทั้งนี้เพราะการคำนวณขนาดตัวอย่างไม่ได้คำนวณเพื่อตอบคำถามรอง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2. วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใครทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไรและเพื่ออะไร โดย การเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ
1. วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่ คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควร ครอบคลุมงานวิจัยที่จะท าทั้งหมด

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

หรือหลักการและเหตุผล ความจำเป็นที่จะทำการวิจัยหรือความสำคัญของโครงการวิจัย ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ ผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา อย่างกว้างๆ ก่อนว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าต่องานด้านนี้ได้อย่างไร