Catégories : Tous - ทฤษฎี - การเรียนรู้ - ประสบการณ์ - พฤติกรรม

par Sivarith Tungjai Il y a 2 années

248

จิตวิทยา

การเรียนรู้มีหลายทฤษฎีที่มีพื้นฐานต่างกัน โดยทฤษฎีของ Mayor เน้นการจูงใจและการคาดหวังของผู้เรียนที่เป็นแรงจูงใจในการเรียน การรับรู้และการจำเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความจำระยะสั้นและระยะยาว ผู้เรียนยังควรสามารถระลึกถึงและประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ ทฤษฎีของ Gagne ชี้ให้เห็นถึงการแสดงออกพฤติกรรมและการรับรู้ผลการเรียนรู้ที่เร็วจะเพิ่มประสิทธิภาพ ทฤษฎีของ Bruner มุ่งเน้นที่การสร้างความรู้จากประสบการณ์ โดยผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความหมายและเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง ส่วนทฤษฎีของ Bloom แบ่งการเรียนรู้ออกเป็นลำดับขั้นตั้งแต่ความจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้รวมถึงแรงขับ สิ่งเร้า การตอบสนอง และการเสริมแรง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดทางปรัชญาที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่น กลุ่มจิตนิยมที่เชื่อว่าวิญญาณเป็นความจริงแท้ และกลุ่มปฏิบัตินิยมที่มีหลายชื่อเรียก ซึ่งเน้นการปฏิบัติและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

จิตวิทยา

จิตวิทยา

ลักษณะสำคัญของกระบวนการเรียนรู้

1. เป็นกระบวนการทางสติปัญญา หรือกระบวนการทางสมอง 2. เป็นงานเฉพาะตน หรือเป็นประสบการณ์ส่วนตัว 3. เป็นกระบวนการทางสังคม 4. เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้จากการคิด และการกระทำ รวมทั้งแก้ปัญหา และการศึกษาวิจัยต่างๆ 5. เป็นกระบวนการที่ตื่นตัว 6. อาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 7. เป็นกระบวนการเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ทุกเวลา 8. คือการเปลี่ยนแปลง 9. เป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต

การเรียนรู้

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne
1.การจูงใจ > การคาดหวังของผู้เรียน เป็นแรงจูงในในการเรียน 2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ > ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ 3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ > เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้น และระยะยาว 4.ความสามารถในการจำ 5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว 6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว 7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ 8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน > ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว จะทำให้มีผลดี และประสิทธิภาพสูง
1.พฤติกรรม ควรชี้ชัด และสังเกตได้ 2.เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ 3.มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
1.ความรู้ถูกสร้าง หรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ 2.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน 3.ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ 4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง 5.ผู้เรียนเลือกเนื้อหา และกิจกรรมเอง 6.เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayor
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom
ลำดับขั้นการเรียนรู้ของผู้เรียน

1. ความจำ 2. ความเข้าใจ 3. การประยุกต์ 4. การวิเคราะห์ > การแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ 5. การสังเคราะห์ > เน้นโครงสร้างใหม่ 6. การประเมินค่า > วัดได้ และตัดสินได้ว่าถูกหรือผิดบนเหตุผล และเกณฑ์ที่แน่ชัด

องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้

1. แรงขับ : ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียน 2. สิ่งเร้า : เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดข้นในสถานการณ์ต่าง ๆ 3. การตอบสนอง : เป็นพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า 4. การเสริมแรง : เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลซึ่งเพิ่มพลังให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

ด้านทักษะพิสัย (Cognitive Domain)
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฎิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทการเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะ และความขชำนาญ
ด้านเจตพิสัย (Cognitive Domain)
ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่า และค่านิยม
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และประเมินผล

ความหมายของการเรียนรู้

สุรางค์ โค้วตระกูล
การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัด
ประดินันท์ อุปรมัย
-การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลมาจากการได้รับประสบการณ์ -ประสบการณ์ทางตรง และประสบการณ์ทางอ้อม
Hilgard & Bower
-การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็ฯผลจากประสบการณ์ และการฝึก -ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองของสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี
Kimble
การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม เป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง
Cronbach
การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่อวมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา
KLein
กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร
Gagne
-การเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพ หรือความสามารถของบุคคลอันเนื่องจากสถานการณ์ที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ -การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีการฝึกหัด หรือมีการกำหนดสถานการณ์ขึ้น
Blair,et al
-การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยอาศัยประสบการณ์ -โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากครั้งก่อน คือ ทำได้รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น -เน้นความสำคัญของประสบการณ์ คือ ผลที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาร่วมกันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ลักษณะสำคัญ 5 ประการ 1.มีการพึ่งพาอาศัยกัน 2.มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด 3.สมาชิกแต่ละคนมีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 4.มีการใช้ทักษะการสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่ม 5.มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

ทฤษฏีพหุปัญญา

ปัญญา (Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการค้นหาความรู้ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อสังคม

ทฤษฏีประมวลสารสนเทศ

-ผู้สร้างทฤษฏี คือ Klausmier -การได้มาซึ่งความรู้ สะสมความรู้ และการระลึกได้ -จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย -หากต้องการให้ผู้เรียนจำเนื้อหาสาระได้นาน ๆ สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว -วิธีการเข้ารหัส เช่น การท่องจำซ้ำ ๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

ทฤษฏีการเรียนรู้โดยการค้นพล

3 ขั้นตอน

1.Enactive Representation > สัมผัสด้วยตนเอง 2.Iconic Representation > ถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยภาพเพื่อขยายการเรียนรู้ 3.Symbolic Representation > ถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยสัญลักษณ์ หรือภาษา

-ผู้สร้างทฤษฏี คือ Jerome Bruner -ครูสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนให้เกิดความพร้อมได้ สอนได้ในทุกช่วงอายุ

ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

-ผู้สร้างทฤษฏี คือ David Ausubel -การเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ การสร้างมโนมติ และการดูดซึมมโนมติ -การเรียนรู็สิ่งใหม่ หากไม่มีพื้นฐานเดิมมาก่อน จะเป็นการเรียนแบบท่องจำ

Constructivism

Social Constructivism

-มีพื้นฐานมาจาก Lev Vygotsky -ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา -สถาบันทางสังคมต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ครอบครัวมีผลต่อการพัฒนาเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคล

Cognitive Constructivism

-มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของ Piaget -พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านกระบวนการซึมซาบ หรือดูดซับ -เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ -ถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดการเสียสมดุลทางปัญญา ผู้เรียนจะต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญาให้เข้าสู่สภาวะสมดุล

เป็นที่มาของ Constructivism การสร้างสรรค์ความรู้นิยม การสรรสร้างความรู้นิยม หรือการสร้างความรู้
การหยั่งเห็น (Insight) คือ ความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมา ต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้า และการตอบสนอง
ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ทฤษฏีสัมพันธ์เชื่อมโยง

สัมพันธ์ต่อเนื่อง

สัมพันธ์เชื่อมโยง

กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)

-พฤติกรรมใดที่ได้มีโอกาสกระทำซ้ำบ่อย ๆ และมีการปรับปรุง ย่อมก่อให้เกิดความชำนวญ ความคล่องแคล่ว -พฤติกรรมใดที่ทอดทิ้งไปนาน ๆ ย่อมกระทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม หรือทำให้ลืมได้

กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

-ถ้าอินทรีย์พร้อมเรียนรู้ แล้วได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความพอใจ -ถ้าอินทรีย์พร้อมเรียนรู้ แล้วไม่ได้เรียน อินทรีย์จะเกิดความรำคาญใจ -ถ้าอินทรีย์ไม่พร้อมเรียนรู้ แล้วบังคับเรียน อินทรีย์จะเกิดความรำคาญใจ

กฎแห่งผล (Law of Effect)

-ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดเป็นที่น่าพอใจ อินทรีย์ย่อมกระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก -ผลแห่งปฏิกิริยาตอบสนองใดไม่เป็นที่น่าพอใจ บุคคลย่อมจะหลีกเลี่ยงไม่กระทำปฏิกิริยานั้นซ้ำอีก

ผู้ที่ทำการทดลองศึกษา คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike)

ทฤษฏีการวางเงื่อนไข

แบบการกระทำ

การเสริมแรง และการลงโทษ

การลงโทษ > ทำให้ความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง

การลงโทษทางบวก > ให้สิ่งที่ไม่ชอบ การลงบโทษทางลบ > ถอนสิ่งที่ไม่ชอบ

การเสริมแรง > ทำให้ความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น

การเสริมแรงทางบวก > ให้สิ่งที่ชอบ การเสริมแรงทางลบ > ถอนสิ่งที่ชอบ

แบ่งพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ

Respondent Behavior > สิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ Operant Behavior > สิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด

ศึกษา และวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ

ผู้ที่ทำการทดลองศึกษา คือ สกินเนอร์ (Skinner)

แบบคลาสสิก

การประยุกต์

1.ปลูกฝังความรู้สึก และเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอน และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ 2.ทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ และความรู้สึก 3.ป้องกันความรู้สึกล้มเหลว ผิดหวัง โดยการส่งเสริมให้กำลังใจ หลีกเลี่ยนการใช้อารมณ์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนผ่อนคลายความรู้สึกตามขอบเขตที่เหมาะสม

การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

1.ก่อนการวางเงื่อนไข 2.ขณะวางเงื่อนไข 3.หลังการวางเงื่อนไข

ทำการทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย

ผู้ที่ทำการทดลองคือ พาฟลอฟ (Pavlov)

แนวคิดทางปรัชญา

กลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism)
- มีหลายชื่อเรียก เช่น อุปกรณ์นิยม ภารกิจนิยม และประสบการณ์นิยม - มนุษย์เป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ มีความสนใจกับการสร้างสรรค์ และตีความหมายจากประสบการณ์ที่ได้รับ - มนุษย์ต้องเรียนรู้ในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์จะเจริญงอกงามเมื่อได้สัมพันธ์กับผู้อื่น หรือสิ่งอื่น
กลุ่มจิตนิยม (Idealism)
วิญญาณเป็นความจริงแท้ เป็นความจริงมากกว่าร่างกาย และจิตใจ
กลุ่มสัจนิยม (Realsism)
วัตถุเป็นความจริงแท้ สรรสิ่งมีอยู่ได้ด้วยตัวของตัวเอง