por pakorn macmyraxa hace 5 años
146
Ver más
การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งความสามารถดังกล่าวประกอบไปด้วยทักษะ และเทคนิคของ การสืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นแต่ละคนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้สืบค้นควรมีทักษะของการคัดเลือกและการประเมินสารสนเทศที่ได้รับจาก อินเทอร์เน็ตร่วมด้วย ขณะเดียวกันผู้สืบค้นก็ต้องรู้จักวิธีการที่คัดเลือกและประเมินสารสนเทศที่ค้น ได้ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อที่จะได้นำสารสนเทศที่มีคุณค่า ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของ ตนเองไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม
5.1 เทคนิคการค้นด้วยเครื่องหมายคำพูด “…..” (Exact phrased search) ซึ่ง ผลลัพธ์ที่ใช้เทคนิคนี้จะเป็นเว็บที่มีคำอยู่ติดกันเท่านั้น เช่น ต้องการค้นค าว่า Information Society โดยให้ทั้งสองคำอยู่ติดกันสามารถสืบค้นได้โดย “Information Society” เป็นต้น
5.2 เทคนิคการค้นหาค าพ้องความหมาย (Synonyms) ด้วยเครื่องหมาย ~ กล่าวคือ ถ้าใช้เครื่องหมาย ~information ในการค้นหา ผลลัพธ์ในการค้นจะ ไม่หาคำว่า information เพียงอย่างเดียวแต่จะหาคำที่มีความหมายคล้ายหรือ ใกล้เคียงกับคำดังกล่าว เช่น คำว่า Statistics เป็นต้น
5.3 เทคนิคการค้นกลุ่มคำหรือคำที่ไม่แน่ใจด้วยเครื่องหมาย * (Wildcard) โดย เทคนิคนี้สามามารถใช้เครื่องหมาย * แทนคำพูดที่ผู้ค้นไม่แน่ใจในการค้นหาแต่ ต้องใช้ภายในเครื่องหมาย “....” เช่น หากต้องการค้นหาเว็บที่มีคำว่า กระทรวง ขึ้นต้น สามารถสืบค้นได้โดย “กระทรวง*” ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏ เว็บไซต์ที่มีค าว่ากระทรวงทุกเว็บ เป็นต้น
5.4 เทคนิคค้นหาช่วงชุดของตัวเลข (Number range) ด้วยเครื่องหมาย .. โดย เทคนิคนี้ใช้เมื่อต้องการค้นข้อมูลที่มีช่วงตัวเลข เช่น ต้องการค้นหา DVD ที่มี 14 ราคาระหว่าง $50-$100 สามารถสืบค้นได้โดยใช้คำว่า DVD $50..$100 เป็น ต้น
5.5 เทคนิคการหานิยามหรือความหมายของคำ (Definition) โดยใช้คำว่า define: ตามด้วยคำที่ต้องการทราบความหมาย เช่น ต้องการทราบความหมายของค า ว่า Information สามารถสืบค้นได้โดยพิมพ์ define: information (การ ค้นหาด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ไม่มีผล) เป็นต้น 5.6 เทคนิคการกรองสิ่งที่ค้นหา (SafeSearch Filtering) เทคนิคนี้จะมีใช้
สำหรับ Search Engine บางตัว เช่น Google โดย Google สามารถกรองเว็บไซต์ที่มี เนื้อหาไม่เหมาะสม หรือรุนแรงได้ โดย Google สามารถกรองตัวอักษร และ รูปภาพได้ถึง 3 ระดับ แต่ค่าเริ่มต้นจะกำหนดไว้เพียงการกรองรูปภาพอนาจาร และเกี่ยวกับเพศไม่ให้แสดงบนจอภาพผลลัพธ์จากการค้นหา ถ้าไม่ต้องการให้มี การกรองสิ่งที่ค้นหาให้เลือก “Do not filter my search results” การกรอง สิ่งที่ค้นหาไม่สามารถแยกผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการออกไปได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หาก ต้องการให้การกรองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรใช้ตัวกรองข้อมูลที่สามารถ ควบคุมการแสดงผลข้อมูลได้ดีกว่า เช่น NetNancy (http://www. netnancy.net/) หรือ Cyber Patrol (http://www.cyberpatrol.com/) ซึ่ง เป็นโปรแกรมที่ใช้กรองข้อมูลโดยเฉพาะ
5.7 ควรใช้คำที่หลากหลายและไม่ควรใช้คำที่ค้นหาเกิน 32 คำ ซึ่งการใช้คำที่ หลากหลายเพื่อค้นหาจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เนื่องจากการกำหนดคำที่ หลากหลายทำให้สามารถหาข้อมูลที่ใกล้เคียงที่สุดได้ เช่น ต้องการหาคำที่มี ความหมายเดียวกับยาจีนชื่อ “qigong” หากพิมพ์เพียงคำเดียวอาจทำให้ Search Engine บางตัวไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้ แต่ถ้าพิมพ์ “qigong Chinese medicine internal exercises asthma” จ ะ ทำ ให้Search Engine บางตัว เช่น Google สามารถหาผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงกว่า การกำหนดเพียงคำเดียว เป็นต้น
4.1 สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu) ซึ่งกลไกสืบค้นหลาย ๆ กลไก ก าหนดให้ผู้สืบค้นเลือกเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้นได้จากเมนูทางเลือก โดยให้ เลือกได้จากภาษา เขตข้อมูลชื่อ URL ช่วงปีที่ต้องการ Domain ของแหล่ง สารสนเทศ เป็นต้น
4.2 สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลก ากับลงในประโยคการค้น เช่น title:nba หมายถึงให้ ค้นเพจที่มีค าว่า nba ปรากฏในชื่อเรื่อง before:30/9/99 หมายถึง ให้สืบค้น เอกสารที่มีการจัดท าก่อนวันที่ 30 ก.ย. 1999 เป็นต้น กลไกที่มีลักษณะการ สืบค้นแบบนี้ ได้แก่ Hotbot เป็นต้น
โดยใช้คำว่า ADJ, NEAR, FAR และ BEFORE ประกอบ เป็นประโยคการค้น เพื่อกำหนดลักษณะของผลการสืบค้นที่ต้องการว่าต้องการให้มี คำใด อยู่ในลักษณะใด โดย 3.1 ADJ หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้กัน สลับ ลำดับคำได้ 3.2 NEAR หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้เคียงกันในระยะ 25 คำ สลับที่ได้ 3.3 FAR หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันได้ 25 คำ หรือมากกว่านั้น 3.4 BEFORE หมายถึงให้คำค้นอยู่ห่างกันในระยะ 25 คำ โดยต้องอยู่ตามลำดับที่ กำหนดเท่านั้น
2.1 การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วน ใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ
2.2 การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำเช่น คำค้นเป็น think
1.1 การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น เช่นเดียวกับการสืบค้นในระบบออนไลน์อื่นๆ โดยเครื่องหมาย หรือตัวกระทำของตรรกบูลลีนจะ แตกต่างกันไปในแต่ละกลไก บางกลไกสามารถใช้คำว่า And, Or, Not ประกอบในป ระโยคก ารค้นได้โดยต รง
1.2 การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu)ว่าต้องการ สืบค้นการที่เกี่ยวข้องกับคำค้นอย่างไร
1.3 การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus)กำหนดหน้าคำค้นที่ต้องการ เครื่องหมาย + หมายถึงในผลการค้นต้องมีคำที่กำหนดนั้น และเครื่องหมาย – หมายถึงไม่ต้องการให้พบคำนั้นในผลการสืบค้น
OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศซึ่งปรับเปลี่ยนจากรูปแบบบัตรรายการในตู้บัตรรายการมาเป็น ระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีชุดคำสั่งการสืบค้นที่ใช้ง่าย สะดวก มีรายการ ทางเลือกของขั้นตอนการทำงานอยู่หน้าจอ
ลักษณะของผลลัพธ์ที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC ส่วนใหญ่จะให้ข้อมูล 2 ลักษณะ ได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic) ของทรัพยากรสารสนเทศที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ และ ข้อมูลดรรชนีและสาระสังเขป (Index & abstract) ของบทความในวารสารและหนังสือพิมพ์ซึ่งมี รายละเอียดดังนี้
1.2.1 ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description) ประกอบด้วย
ชื่อผู้แต่ง (Author)
ชื่อเรื่อง(Title)
สถานภาพ (Status)
เลขเรียกหนังสือ (Call number)
รูปเล่ม (Description)
หมายเหตุ (Note)
สถานที่ (Location)
หัวเรื่อง (Subject)
เลขมาตรฐาน (ISBN)
1.2.2 ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index) ของบทความในวารสารภาษาไทย ประกอบด้วย ชื่อผู้แต่ง (Author)
ชื่อเรื่อง (Title)
ปี (Year)
สถานที่ (Location)
ชื่อวารสาร (Journal)
เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร(ISSN)
หัวเรื่อง (Subject)
1.1.1 จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้ เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู
1.1.2 ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก
1.3 หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่ รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว ซึ่ง จะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์
1.1.4 หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่ รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ นั้นๆ หากเป็นหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุรายละเอียดที่ได้ประกอบด้วย เลขเรียกหนังสือ สถานที่ที่มีทรัพยากรสารสนเทศนั้น รายละเอียดทาง บรรณานุกรม สถานภาพของหนังสือว่ามีกี่เล่ม มีอยู่ที่ใด อยู่บนชั้นหรือ มีผู้ยืมไป ถ้ามีผู้ยืมจะบอกวันที่ก าหนดส่งคืน (date due) หากเป็น บทความวารสาร ระบบจะแสดงผลการสืบค้นเป็นรายการย่อ ซึ่ง ประกอบด้วยชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ และปีพิมพ์ของ วารสารที่ตีพิมพ์บทความนั้น รวมทั้งบอกด้วยว่าห้องสมุดมีวารสารนั้น ตั้งแต่ปีใดถึงปีใด
เป็นการเชื่อมคำเพื่อจำกัดการค้นให้แคบ ลง โดยแจ้งให้ระบบทราบว่าไม่ต้องการคำ ที่อยู่ตามหลัง NOT
เป็นการเชื่อมคำเพื่อขยายการค้นไปยัง คำอื่นๆ ที่กำหนด
ต้องการผลการค้นจากคำทั้ง 2 คำ เช่น digital collection or digital library การค้นหาสารสนเทศโดยใช้คำว่า or จะ ได้สารสนเทศมากกว่าคำว่า and ไม่ว่าจะมีคำใดคำหนึ่งปรากฏที่ใดก็ตาม ระบบจะดึงข้อมูลออกมานำเสนอทั้งหมด
เป็นการเชื่อมคำเพื่อจำกัดการสืบค้นให้ แคบลง ด้วยการวาง AND ไว้หรือ เครื่องหมาย + ระหว่างคำ2 คำหรือการ ไม่ใส่ตัวเชื่อมใดๆ ระหว่างคำ