Categorías: Todo - สถิติ - การวัด - ตัวแปร - ข้อมูล

por Yuphaphorn maokhong hace 5 años

327

สถิติพืนฐานเพือการวิจัย

สถิติพื้นฐานในการวิจัยแบ่งออกเป็นหลายประเภท โดยเริ่มจากการจัดอันดับข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด เช่น ลำดับในการสอบและการประกวด ต่อมาเป็นสถิติอันตรภาคที่สามารถวัดค่าที่มีช่วงห่างเท่ากัน เช่น อุณหภูมิและระดับทัศนคติ ส่วนสถิติอัตราส่วนสามารถใช้ในการวัดค่าที่สูงขึ้นได้ เช่น น้ำหนักและความเร็ว นอกจากนี้ยังมีการวัดแบบนามบัญญัติที่จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ เช่น เพศและอาชีพ การใช้สถิติในการวิจัยต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ประเภทของข้อมูล วัตถุประสงค์ และการกำหนดตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็นตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระ และตัวแปรควบคุม หลักการสำคัญในการใช้สถิติรวมถึงการแปลผลค่าอย่างถูกต้อง การตีความหมาย และการนำเสนอในรูปแบบมาตรฐาน ประเภทของสถิติมีทั้งสถิติชิงพรรณนาที่ใช้ในการอธิบายข้อมูลที่มีอยู่ และสถิติพารามิเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

สถิติพืนฐานเพือการวิจัย

สถิติพืนฐานเพือการวิจัย

หลักเบื้องต้นที่สำคัญของการใช้สถิติ

ตีความหมาย
แปลผลค่าสถิติต่างๆได้ถูกต้อง
เสนอในรูปแบบมาตรฐานของแต่ละวิธีการหรือวงวิชาการยอมรับ
หลีกเลี่ยงการเสนอซ้ำซาก

วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

ศึกษาการประมาณค่า หรือการพยากรณ์
ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปร
ศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่มต่างๆที่เป็น เป้าหมายของการศึกษา
พรรณนาคุณสมบัติของหน่วยศึกษา/วิเคราะห์

ประเภทของข้อมูลทางสถิติ

อัตราส่วน(Ratio Scale)
เป็นข้อมูลที่ใช้วัดในระดับสูงสามารถ บวก ลบ คูณ หารได้ เช่น น้ำหนัก ความเร็ว ความกว้าง
อันตรภาค (Interval Scale)
เป็นข้อมูลที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างค่าที่วัดได้แต่ละช่วงที่มีความห่างเท่ากัน สามารถ+,- ได้ แต่เป็นศูนย์ไม่แท้ เช่น อุณหภูมิ ระดับทัศนคติ
เรียงอันดับ (Ordinal Scale)
เป็นข้อมูลที่ใช้จัดอันดับของสิ่งต่างๆโดยเรียงอันดับของข้อมูลตามวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้จากสูงสุดไปหาต่ำสุด เช่น ลำดับในการสอบ ลำดับการประกวดสิ่งต่างๆ
นามบัญญัติ (Nominal Scale)
เป็นระดับการวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลหรือตัวแปรออกเป็นกลุ่มๆ เช่น เพศ อาชีพ เป็นต้น

ประเภทของตัวแปรที่ใช้ในสถิติ

ตัวแปรควบคุม
ตัวแปรที่ส่งผลต่อการทดลองอาจทำให้การทดลอง คลาดเคลื่อนจึงต้องควบคุมเอาไว้
ตัวแปรตาม
ตัวแปรท่ีเปลี่ยนไปตามตัวแปรต้น หรือ ผลของตัวแปรต้น
ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรที่กำหนดข้ึนเพื่อทดสอบสมมติฐาน เป็นตัวแปรที่เราเปลี่ยนไปเพื่อจะดูผลที่ตามมา

ข้อพิจารณาการใช้สถิติเพื่อการวิจัย

รู้การนำเสนอ การอ่าน และตีความหมายผล
รู้หลักเบื้องต้นของการใช้สถิติ
สามารถกำหนดสถานภาพของตัวแปรที่ศึกษาได้ว่าเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม
รู้ลักษณะของข้อมูลว่ามีการวัดระดับใด
ทราบประเภทของสถิติที่เหมาะสมกับวัตุประสงค์
ทราบวัตถุประสงค์ของการนำวิธีการสถิติมาใช้

ประเภทของสถิติ

Inferential Statistics
สถิติพารามิเตอร์ (Parametric Statistics ) •สถิติว่าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลท่ีรวบรวม มาจากกลุ่มตัวอย่างเพื่ออธิบายสรุป ลักษณะบางประการของประชากรโดยมี การนำทฤษฎี ความน่าจะเป็นมา ประยุกต์ใช้เช่น การประมาณค่าการทดสอบสมมติฐาน เป็นต้น

t-test, Z-test, ANOVA, Regression ฯลฯ

มีการแจกแจงเป็นเส้นโค้งปกติ

ข้อมูลระดับช่วงขึ้นไป

Descriptive Statistics
-สถิติชิงพรรณนา •การใช้สถิติเพื่ออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ • ไม่ได้นำไปพยากรณ์ประชากรแต่อย่างใด

การใช้แผนภาพ

การใช้อักษรหรือตัวเลข

สถิติ

ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม หรือเรียกอีกอย่างว่าข้อมูลทางสถิติ