Kategorier: Alle - สารสนเทศ - ฐานข้อมูล - การสืบค้น - อินเทอร์เน็ต

af Zirdave Zirdave 4 år siden

201

Knowlegde Inquiry

การสืบค้นสารสนเทศในยุคปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นด้วยการใช้ OPAC และฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีการออกแบบให้มีกราฟิกเพื่อความง่ายในการใช้งาน ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นสามารถเป็นดรรชนีวารสารหรือบรรณานุกรม ผู้ใช้สามารถใช้เทคนิคการสืบค้นอย่างง่ายหรือขั้นสูงเพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เรื่องที่ต้องการ เลือกฐานข้อมูลที่เหมาะสม และปฏิบัติตามคำสั่งการสืบค้น อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมาย โดยมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลสองประเภท คือ เว็บไดเรกทอรีและเครื่องมือสืบค้น ซึ่งประกอบด้วยตัวดรรชนีที่รวบรวมคำและตำแหน่งของเพจต่างๆ ข้อมูลที่ได้จะถูกแสดงในรูปแบบที่ใช้งานง่ายและสามารถบันทึกผลได้ตามต้องการ

Knowlegde Inquiry

Knowlegde Inquiry

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์

การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์สามารถใช้เทคนิคการสืบค้นอย่างง่าย หรือเทคนิคการสืบค้นขั้นสูงได้เช่นเดียวกับการสืบค้นอื่นๆ แต่จะมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่เป็นหลักทั่วไปดังน
5. เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล
4. แสดงผลการสืบค้น
3. ลงมือสืบค้น โดยทั่วไปสามารถสืบค้นได้2 วิธีคือการใช้เมนูในการสืบค้น และการสืบค้นโดยการพิมพ์คำสั่ง
2. เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม
1. วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ในการค้น

การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์ หรือที่เรียกว่า OPAC (Online Public Access Catalog)

เป็นรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศ ของห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศซึ่งปรับเปลี่ยนจากรูปแบบบัตรรายการในตู้บัตรรายการมาเป็น ระเบียนบรรณานุกรมในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมีชุดคำสั่งการสืบค้นที่ใช้ง่าย สะดวก มีรายการทางเลือกของขั้นตอนการทำงานอยู่หน้าจอ ผู้ใช้เพียงปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำที่ปรากฎจากนั้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลได้บางห้องสมุดได้ออกแบบ OPAC ให้มีลักษณะเป็นกราฟิก(Graphic User Interface-GUI) เพื่อการใช้ที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้สืบค้น
ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC

ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)

ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)

การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซต์ซึ่งเก็บข้อมูลต่างๆไว้มากมายนเพื่อการสืบค้นสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วจึงมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ค้นหา สารสนเทศแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ค้นพบรายละเอียดที่ต้องการได้ง่าย โดยเว็บไซต์ที่ท าหน้าที่ค้นข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบนามานุกรมบนเว็บไซต์ (Web Directories) และ แบบที่เป็นเครื่องมือสืบค้น (Search Engines)
องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)

3) โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor) ทำหน้าที่เปรียบเทียบความเกี่ยวข้องระหว่างเว็บไซต์และความต้องการของผู้สืบค้นว่ามีความเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด

2) ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทำหน้าที่รวบรวมคำ และตำแหน่งทุกๆ เพจที่ตัวส ารวจรวบรวมมาได้ ในส่วนนี้จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดทำดรรชนีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้สะดวกขึ้น

1) ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot) เป็นซอฟต์แวร์ส าหรับสำรวจเว็บ โดยจะทำหน้าที่ตระเวณไปยังเว็บไซต์ต่างๆ