ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัญหาสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาชั้น ปีที่ 1 สานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับแรงจูงใจในการเรียนของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ
สมมติฐาน
สภาพแวดล้อมทางการศึกษาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา ด้านกลุ่มเพื่อน ด้าน อาคาร สถานที่ ด้านการจัดกิจกรรม และด้านการใช้สื่อในการเรียนการสอน มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นาผลการสารวจความคิดเห็นไปหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทาง การศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
วิชิต เทพประสิทธิ์ (2558) มีแนวคิดเกี่ยวกับความหมายของสภาพแวดล้อมทางการศึกษา ความว่า เป็นสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวผู้เรียนทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีผกระทบต่อประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลต่อผู้เรียนในการเรียนร
ธเนศ ขาเกิด (2558) และ กฤษณา ทบชิน (2556) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม ทางการศึกษา ไว้ว่า เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก รวมถึงสัมพันธภาพด้านการสร้าง บรรยากาศการเรียนร
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
วันวิสา เมฆทับ (2555) ศึกษาเรื่อง การจัดบริการห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และ สภาพแวดล้อม การเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่า การ จัดบริการห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก (X=3.52) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (X = 3.48) ด้านบริการ กายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียน การสอน และพัฒนานักศึกษาโดยรวม นักศึกษามีความพึงพอใจใน ระดับปานกลาง(X = 3.47)และด้านระบบ สาธารณูปโภคและการรักษาความปลอดภัยของอาคารและ บริเวณโดยรอบโดยรวมนักศึกษา นักศึกษามีความ พึงพอใจในระดับปานกลาง (X = 3.30)
ไบรอัน (Bryan, 1978.อ้างถึงใน อัครเดช จานงค์ธรรม, 2549,.น.34). ได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความพึงพอใจของนิสิตต่อสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ใน 5 ด้าน คือ 1.) สิ่งที่มหาวิทยาลัยจัดให้ 2.) ชีวิตในมหาวิทยาลัย 3.) สภาพการทางาน 4.) ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย และ 5.) คุณภาพการศึกษา โดยศึกษากับนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งรัฐออเรกอน ในปี ค.ศ. 1975-1976 ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยและความรู้สึกพึงพอใจต่างเป็นอิสระต่อกัน
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
ทฤษฎีของมาสโลว์(Maslow’s Hierachy of Needs)
ทฤษฎีการตื่นตัว (An Arousal Theory)
ทฤษฎีการจูงใจของแมคเคิลล์แลนด์ (McClelland’s Motivation Theory)
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral View of Motivation)
ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitive View of Motivation)
ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ระเบียบวิธีวิจัย
ประเภทของงานวิจัย
วิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จานวน 224 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
กลุ่มตัวอย่าง
คิดเป็น 40 % ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด จะได้ 90 คน
วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามผ่าน Google Form
สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับ แรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษา ใช้การวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
คำถามของการวิจัย
ปัญหาสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใดบ้างที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ
กรอบแนวคิด
ตัวแปรต้น
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และ นักศึกษา
ด้านกลุ่มเพื่อน
ด้านอาคาร สถานที่
ด้านการจัดกิจกรรม
ด้านการใช้สื่อในการเรียนการสอน
ตัวแปรตาม
แรงจูงใจในการเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
มีการใช้คาถามในแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัว สภาพแวดล้อมต่างๆที่ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษา
ขอบเขตด้านประชากร
เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สานักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จานวน 90 คน จากการสุ่มแบบบังเอิญที่ได้มาจากการทาแบบสอบถาม
ขอบเขตด้านระยะเวลา
17 กุมภาพันธ์ 2564 – 25 เมษายน 2564
นิยามศัพท์เฉพาะตัวแปรในการวิจัย
เเรงจูงใจในการเรียน หมายถึง ความรู้สึกที่นักศึกษามีต่อการเรียน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเรียน ตรงเวลา การไปเรียนมากยิ่งขึ้น การเข้าร่วมกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น การส่งงานตรงเวลา การมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์เเละกลุ่มเพื่อนในห้องเรียน
สภาพเเวดล้อมทางการศึกษา หมายถึง สภาพเเวดล้อมที่อยู่รอบตัวนักศึกษาทั้งภายในเเละ ภายนอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านต่างๆ ได้เเก่ สภาพแวดล้อมด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและ อาจารย์ สภาพแวดล้อมด้านกลุ่มเพื่อน สภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมด้านการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน สภาพแวดล้อมด้านการใช้สื่อในการเรียนการสอน ที่มีผลต่อเเรงจูงในการศึกษา
สภาพแวดล้อมด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์และนักศึกษา มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อาจารย์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนยกมือถามปัญหาต่างๆที่สงสัย อาจารย์เปิดให้นักศึกษามีความคิดอิสระในแต่ละบทเรียน นักศึกษาก็มีความสบายใจในการทากิจกรรมต่างๆใน ห้องเรียนบรรยากาศในห้องเรียนก็น่าเรียนไม่ตึงเครียด
สภาพแวดล้อมด้านกลุ่มเพื่อน หมายถึง ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน การปรับ ตัวการดารงชีวิตในมหาวิทยาลัย การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ความร่วมมือในกลุ่มเพื่อนกิจกรรมที่เอื้อต่อการ พัฒนากระบวนการกลุ่มที่จัดขึ้นในสถาบันซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาในทุกๆด้านทั้งด้านผล การเรียนด้านพฤติกรรมตลอดจนบุคลิกภาพส่วนตัวของนักศึกษา
สภาพแวดล้อมด้านอาคารและสถานที่ หมายถึง สภาพเเวดล้อมทั้งภายในห้องเรียน เช่น ขนาดของห้องเรียน เเสงสว่าง สี เสียง อุณหภูมิ เเละอุปกรณ์อานวยความสะดวกภายในห้องเรียน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น อีกทั้ง สภาพเเวดล้อมภายนอกห้องเรียนไม่ว่าจะเป็นเเหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง ห้องสมุด เป็นต้น
สภาพแวดล้อมด้านการจัดกิจกรรม หมายถึง ลักษณะของกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อให้ นักศึกษาได้เข้าร่วมโดยมีกระบวนการรูปแบบวิธีการที่หลากหลายมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และชีวิตความเป็นอยู่ ของนักศึกษาให้ดาเนินไปได้ด้วยดีมีพัฒนาการทางด้านร่างกายจิตใจสติปัญญาอารมณ์และส่งเสริมสร้างเจตคติ เห็นคุณค่าชีวิตและส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองโดยผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสานักวิชาจัดขึ้นเเละทาง มหาลัยจัดขึ้น
สภาพเเวดล้อมด้านการใช้สื่อในการเรียนการสอน หมายถึง การใช้สื่อเป็นตัวกลางที่ถ่ายทอด ความรู้ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ในปัจจุบันนิยมใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพเเละความน่าสนใจ
ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันปัญหาสภาพแวดล้อมทางการศึกษาส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ที่ดูแย่ลง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับเพื่อนที่ มักมีการกลั่นแกล้งหรือทะเลาะเบาะแว้งกัน รวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในห้องเรียนและนอก ห้องเรียนที่ไม่เอื้ออานวยต่อการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ทาให้บั่นทอนต่อแรงจูงใจในการเรียน ของนักศึกษา จึงควรมีการสารวจความคิดเห็นเพื่อหาปัญหาและนาไปสู่การพัฒนาหาแนวทางปูองกันต่อไป